วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

เอกสารประกอบการฝึกอบรม โครงการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี “การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ ” การเพาะเห็ดสกุลนางรม สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เอกสารประกอบการฝึกอบรม โครงการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี “การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ ” การเพาะเห็ดสกุลนางรม สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กิตติกรรมประกาศ การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การผลิตก้อนเชื้อเห็ดและหัวเชื้อเศรษฐกิจ ” จะไม่สามารถ สำเร็จลุล่วงลงได้หากขาดซึ่งความร่วมมือ ร่วมใจ การดำเนินงานและการประสานงานจากผู้มีส่วน ร่วมทุกท่าน ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ จึงใคร่ขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วมทุกท่าน ไว้ ณ ที่นี้ ขอขอบคุณ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ เห็นความสำคัญของโครงการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ และได้กรุณาจัดสรรงบประมาณหมวดเงิน อุดหนุนทั่วไปประจำปี 2551 จากโครงการบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พึ่งตนเอง (โครงการย่อยที่ 7 การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ )สำหรับการดำเนินงาน ตลอดโครงการ ขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุราภรณ์ สอาดสุด ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่กรุณารับเป็นวิทยากรภาคบรรยายและให้คำปรึกษาแก่คณะผู้จัดทำ โครงการ และให้ความร่วมมือในการจัดทำโครงการนี้ร่วมกับโครงการบริการวิชาการชุมชน เรื่อง การเพิ่มรายได้แก่ชุมชนด้วยเห็ดสกุลนางรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอขอบคุณ โครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงาย ในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ที่ให้ความอนุเคราะห์สถานที่สำหรับการศึกษา ดูงานของคณะผู้เข้ารับการฝึกอบรม และในท้ายที่สุด ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมเชิง ปฏิบัติการครั้งนี้ทุกท่านที่สละเวลาส่วน ตัวมาร่วมการฝึกอบรม อันอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการ เผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักวิชาการ และผู้สนใจประกอบการเพาะเห็ด ซึ่งจะนำไปสู่การ พัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป ดร.ปริญญา จันทรศรี หัวหน้าโครงการ คณะผู้จัดการฝึกอบรมและร่วมโครงการ นางประทุมพร ยิ่งธงชัย นางนิตยา บุญทิม นางสาวสุดาพร ตงศิริ 3 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บทนำ การเพาะเห็ด จัดได้ว่าเป็นอาชีพที่ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไป เพราะสามารถใช้ ประกอบเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัว แต่ปัจจุบันสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่เริ่มประกอบอาชีพการเพาะเห็ด มักไม่ใช่เป็นผู้ผลิตหัวเชื้อเห็ดเอง จึง จำเป็นต้องหาซื้อหัวเชื้อเห็ดมาใช้ในการเพาะเห็ดแต่ละรุ่น แต่ถ้าหากได้รับความรู้ในเรื่องของการ เตรียมหัวเชื้อเห็ด ก็จะทำให้สามารถผลิตเชื้อเห็ดได้เอง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อหัวเชื้อเห็ดมา ใช้ในการเพาะ นอกจากนี้ยังจะสามารถพัฒนาทักษะในการคัดเลือกดอกเห็ดที่มีสภาพสมบูรณ์ แข็งแรง มาใช้ในการเตรียมเป็นหัวเชื้อ สำหรับโครง การฝึกอบรมในครั้งนี้จะเป็นการฝึกอบรมเชิง ปฏิบัติการในเรื่องการเตรียมหัวเชื้อเห็ด โดยการแยกเชื้อเห็ดบริสุทธิ์จากเห็ดที่มีความสำคัญทาง เศรษฐกิจหรือเป็นที่นิยมในการบริโภค โดยได้เริ่มจากการเพาะเห็ดในสกุลนางรม ซึ่งสามารถใช้เป็น แนวทางในการเพาะเห็ดชนิดอื่นๆได้อีกต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะมีหลักการเดียวกัน อาจมีส่วน แตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อยขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด อันจะทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจในวิธีการหรือขั้นตอนในการแยกเชื้อเห็ดบริสุทธิ์ โดยอาศัยความรู้พื้นฐานทางจุล ชีววิทยาแบบง่ายๆและสามารถนำ ไปประยุกต์ใช้ได้กับเห็ดอีกหลายชนิด โดยจะทำให้ทราบถึง ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดบนอาหารวุ้น การเตรียมอาหารวุ้น ตลอดจนวิธีการขยายและเพิ่ม ปริมาณเชื้อเห็ดลงในก้อนเชื้อเพื่อสำหรับใช้ในการเพาะเห็ดต่อไป ทางคณะผู้จัดฝึกอบรมโดยการสนับสนุนของสถาบันวิจัยแ ละพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตลอดจนความร่วมมือกับโครงการบริการวิชาการชุมชน ของ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร .อุราภรณ์ สอาดสุด เป็น หัวหน้าโครงการเรื่องการเพิ่มรายได้แก่ชุมชนด้วยเห็ดสกุลนางรม จึงได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ในครั้งนี้ขึ้น ร่วมกับการนำผู้เข้ารับการฝึกอบรมศึกษาดูงานกิจการเพาะเห็ด ณ โครงการพิเศษสวน เกษตรเมืองงาย ในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อำเภอเชียงดาว จังหวัด เชียงใหม่ ตลอดจนการเรียบเรียงจัดทำเอกสารฉบับนี้ที่ได้จากองค์ความรู้ของคณะผู้วิจัยและแหล่ง อ้างอิงต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าใจถึงหลักการทางวิชาการของการเตรียมหัวเชื้อเห็ด จะ ได้เกิดความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสาร ฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ ช่วยให้ท่านได้เข้าใจกระบวนการวิธีการเตรียมหัวเชื้อเห็ดได้ดียิ่งขึ้น และ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป ดร.ปริญญา จันทรศรี ผศ .ดร.อุราภรณ์ สอาดสุด ผู้จัดทำและเรียบเรียงเอกสารประกอบการฝึกอบรม 4 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สารบัญ หน้า กิตติกรรมประกาศ บทนำ สารบัญ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเห็ดสกุลนางรม การเพาะเลี้ยงเห็ดนางรม การเก็บเกี่ยวการเก็บรักษา การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดนางรม มาตรฐานเห็ดนางรม การปฏิบัติการทางการเกษตรดีที่เหมาะสม ในการเพาะเห็ด 2 34 5 16 28 40 43 5 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเห็ดสกุลนางรม โดย อุราภรณ์ สอาดสุด และ สมศรี หล้าบุดดา ----------------------------------------------------------------------------------------------- ปัจจุบันเห็ดที่เราชอบรับประทานกันมีมากมายหลายชนิด ซึ่งเราได้รู้จักเห็ดและนำมา บริโภคเป็นอาหารมานานแล้ว และเห็ดสกุลนางรมก็เป็นเห็ดอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นที่นิยมรับประทานมี ทั้งแบบเห็ดสด แบบบรรจุกระป๋อง หรือแม้แต่ตากแห้ง ความนิยมในการบริโภคเห็ดมีมากขึ้น เรื่อยๆ ตามรูปแบบและรสชาติของเห็ดสกุลนางรม ซึ่งแตกต่างจากอาหารประเภทผัก และเนื้อสัตว์ รวมทั้งการที่คนเราหันมานิยมนำเห็ดสกุลนางรมมารับประทานเป็นอาหารมังสวิรัติกันมากขึ้น และ มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ยืนยันว่าเห็ดสกุลนางรมมีคุณสมบัติ และมีประโยชน์ต่อร่างกายสูง และในปัจจุบันนี้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้มีกา รเพาะเห็ดมากมายหลายชนิด สำหรับวิธีที่นิยม คือ การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก เพราะขั้นตอนการผลิตมีความสะอาด และ ปลอดเชื้อโรค ซึ่งวิธีการเพาะในถุงพลาสติกสามารถใช้เพาะเห็ดได้หลากหลายชนิด เช่น เห็ด นางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ เป็นต้น โดยมีวัสดุหลักที่ใช้เพาะ คือ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ซึ่ง บางแห่งอาจใช้วัสดุอื่นทดแทนได้ เช่น ขี้เลื่อยไม้ฉำฉา ชานอ้อย หรือ ฟางข้าว เนื่องจากขี้เลื่อย ไม้ยางพารามีราคาสูง และแหล่งวัตถุดิบจะมีอยู่เฉพาะทางภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคอีสาน ของประเทศไทยเท่านั้น การเพาะเห็ดในถุงพลาสติกเป็นการผลิตที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ เป็นอย่างดี เพราะเห็ดเป็นแหล่งอาหารที่สะอาด มีโปรตีนสูง สามารถนำไปประกอบอาหารได้ หลากหลายชนิด มีรสดี และเป็นที่นิยมของผู้บริโภค 6 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัวอย่างของเห็ดสกุลนางรมชนิดต่างๆ 1. พลูโรทัส ออสเทรียทัส (Pleurotus ostreatus (Jacq.ex.Fr) Kummer) มีหลายพันธุ์ ได้แก่ เห็ดนางรมขาว White Type or Florida Type Oyster Mushroom 1.2 เห็ดนางรมสีเทา Grey Type or Winter Type Oyster Mushroom 1.3 เห็ดนางรมดอย Blue Type Oyster Mushroom 1.4 เห็ดนางรมฮังการี Tree Oyster Mushroom 2. พลูโรทัส ซาโจร์- คาจู (Pleurotus sajor-caju (Fr.) Singers) เห็ดนางฟ้า Phoenic Oyster Mushroom เห็ดนางรมอินเดีย Indian Oyster Mushroom 3. พลูโรทัส อิอัส (Pleurotus eous) เห็ดนางฟ้าภูฐาน Bhutan Oyster Mushroom 4. พลูโรทัส ซิสทิดิโอซัส (Pleurotus cystidiosus (O.K.) Miller or Pleurotus abalous) เห็ดเป๋าฮื้อ Abalone Mushroom 5. พลูโรทัส ซิทริโนพิเลียทัส (Pleurotus citrinopileatus) เห็ดนางรมสีทอง Golden Oyster Mushroom 6. พลูโรทัส ฟลาเบลลาทัส (Pleurotus flabellatus) เห็ดนางนวล Pink Oyster Mushroom 7. พลูโรทัส อิงจิ (Pleurotus eryngii (Cand.Ex.Fr.)) เห็ดนางรมหลวง King Oyster Mushroom 8. พลูโรทัส ทูเบอร์เรเจียม (Pleurotus tuberregium) เห็ดนางรมหัว King Tuber Oyster Mushroom 7 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เห็ดสกุลนางรมมีหลายชนิด/หลายสายพันธุ์ ที่มา: 1. ศูนย์วิจัยเห็ดเขตหนาว (ดอยปุย) เห็ดนางรมขาว เห็ดนางรมเทา เห็ดนางรมดอย เห็ดนางฟ้า เห็ดนางฟ้าภูฐาน เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดนางรมทอง เห็ดนางนวล เห็ดนางรมหลวง เห็ดนางรมหัว เห็ดนางรมฮังการี 8 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2. โครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงายในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ รูปร่างลักษณะของเห็ดสกุลนางรม เนื่องจากเห็ดนางรมมีรูปร่างเหมือนหอยนางรมจึงเ รียกเห็ดนี้ว่า Oyster Mushroom ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้ 1. หมวกดอก (cap หรือ pileus) มีลักษณะคล้ายหอยนางรม หมวกดอกมีผิวเรียบ กลางหมวกดอกมีลักษณะเว้าเป็นแอ่ง ขอบกลีบดอกโค้งลงด้านล่างเล็กน้อยดอกที่ โตเต็มที่หลังดอก มีลักษณะเป็นครีบ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-15 เซนติเมตร มีสีที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดเห็ด ด้านล่างของหมวกดอกจะเชื่อมติดกับก้านดอกหรือเป็นเนื้อเดียวกัน 2. ก้านดอก (stalk) เป็นส่วนชูดอกขึ้นไปในอากาศ ก้านดอกยาวปานกลางและเจริญเข้าหา แสงสว่าง ก้านดอกเห็ดอยู่ค่อนไปข้างหนึ่ง ไม่อยู่กึ่งกลางของหมวกเห็ด ก้านโค้งงอเหมือนพัด เล็กน้อย มีความกว้างประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1-10 เซนติเมตร 3. ครีบดอก (gill) มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ สีขาวหรือสีเทา บริเวณครีบดอกเป็นแหล่ง สร้างสปอร์สปอร์มีสีขาวอมม่วงอ่อนรูปร่างกลมรี มีติ่งเล็กๆที่ปลายข้างหนึ่ง ขนาด 3 x 4 ถึง 8 x 12 ไมโครเมตร เห็ดนางรมขึ้นอยู่เป็นกลุ่มและบางชนิดอาจขึ้นเป็นดอกเดี่ยว มีโคนก้านดอกติดกันและมี หมวกเห็ดซ้อนกันเป็นชั้นๆ และสามารถงอกออกมาจากขอนไม้ กิ่งไม้ผุบนต้นไม้ยืนต้นหรือ ถุงพลาสติกที่ใช้เพาะได้ (ภาพที่ 1) ภาพที่ 1 รูปลักษณะของเห็ดนางรม ที่มา : โครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงาย (2551) 9 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วงจรชีวิตของเห็ดสกุลนางรม เห็ดนางรมมีวงจรชีวิตจากดอกเห็ดที่เจริญเติบโตเต็มที่ มีการสร้างสปอร์ เมื่อเห็ดแก่แล้ว สปอร์จะหลุดออกจากครีบซึ่งอยู่ใต้หมวกดอกและสามารถปลิวไปตกที่บริเวณอื่นได้ เมื่อเจอ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะงอกได้เส้นใยขั้นที่ 1 จากนั้นเส้นใยขั้นที่ 1 ที่เจริญมาจากสปอร์ที่ต่าง เพศกันจะรวมตัวกันแล้วพัฒนาเป็นเส้นใยขั้นที่ 2 เส้นใยขั้นที่ 2 จะเจริญเติบโตได้อย่างมากมาย เส้นใยในระยะนี้สามารถรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อสร้างดอกเรียกเส้นใยในดอกเห็ดว่าเส้นใยขั้ นที่ 3 ภาพที่ 2 ลักษณะการเกิดสปอร์และเจริญเป็นเส้นใย ที่มา : ปัญญา และกิตติพงษ์ (2538) ภาพที่ 3 ลักษณะของเส้นใยที่เดินบนอาหารวุ้น ที่มา : โครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงาย (2551) 10 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาพที่ 4 ลักษณะวงจรชีวิตของเห็ดสกุลนางรม ที่มา : ปัญญา และกิตติพงษ์ (2538) 11 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดสกุลนางรม 1. เห็ดนางรมจะมีโปรตีนสูงกว่าพืชผักอื่น ๆ ยกเว้น ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา 2. มีไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย 3. มีกรดอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย 4. เห็ดนางรมให้พลังงานน้อย 5. มีวิตามินหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินบี 1บี2 วิตามินซี ไนอาซิน ปริมาณ แตกต่าง กันขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด 6. มีส่วนประกอบของเยื่อใย (fiber) และคาร์โบไฮเดรต 7. เป็นแหล่งแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น โปตัสเ ซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม แคลเซียม และ แมกนีเซียม ในปริมาณแตกต่างกันไป ในเห็ดสกุลนางรมจะมีปริมาณทองแดงมากกว่าเห็ดชนิดอื่น ๆ คุณค่าทางยาของเห็ดสกุลนางรม 1. เบต้า-กลูแคน ในผนังเส้นใยของเห็ดจะมีสารเบต้า-กลูแคน(B-(1-3)glucan) หรือพลูโรทินโพลีแซ็คคาไรด์ (Pleurotin Polysaccharides) เป็นโพลีแซคคาไรด์ หรือน้ำตาล ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย เรามากมายคือ 1. มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย 2. ต่อต้านโรคมะเร็งและลดอนุมูลอิสระ 3. กระตุ้นให้แผลหายเร็ว โดยจะไปเพิ่มประสิทธิภาพของการเพิ่มคอลลาเจน ให้กับ บริเวณเนื้อเยื่อที่เป็นแผล 4. เพิ่มการสร้างและการเจริญเติบโตของเม็ดเลือดขาว 5. ต่อต้านแบคทีเรียพวกแกรมบวก ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น ระงับอาการปวดตามข้อ 12 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2. ไคติน-ไคโตซาน ไคติน-ไคโตซานมีบทบาทในการเป็นเส้นใยอาหาร เส้นใยอาหารหรือไฟเบอร์เป็นสารพวก คาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง ที่ไม่มีรสหวาน ไม่ละลายน้ำ ไม่ย่อยในกระเพาะอาหารของคน ไม่ให้ พลังงานหรือสารอาหารแก่ร่างกาย แต่มีประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย ช่วยลดอัตราการเสี่ยงต่อโรค ระบบทางเดินอาหาร เช่น มะเร็งลำไส้ท้องผูก ริดสีดวงทวาร โรคหัวใจ โรคอ้วน ไขมันอุด ตันเส้นเลือด รักษาอาการปวดข้อ ปวดเข่า ในประเทศญี่ปุ่นมีการเติมไคโตซานลงในอาหารต่างๆ หลากหลายชนิด เช่น คุกกี้ มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ บะหมี่ และน้ำส้มสายชู เป็นต้น กรดโฟลิกสูง มีกรดโฟลิกสูงกว่าพืชผักและเนื้อสัตว์ ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยปรับสภาพความดัน โลหิต ตารางอุณหภูมิและเวลาที่ใช้บ่มหัวเชื้อเห็ดสกุลนางรมแต่ละชนิด ตาราง 1 อุณหภูมิและเวลาที่ใช้บ่มหัวเชื้อเห็ดนางรมแต่ละชนิด หัวเชื้อบนอาหารประเภท ชื่อเห็ด วุ้น หัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่าง หัวเชื้อขี้เลื้อย อุณหภูมิ วัน อุณหภูมิ วัน อุณหภูมิ วัน 1. นางรมดอย 2. นางรมทอง 3. นางรมหลวง เห็ดเขต หนาว 4. นางรมหัว 23-25oC 10-15 23-25oC 10-15 23-25oC 30-45 1. นางรมขาว 2. นางฟ้า 3. นางรมเทา 4. นางฟ้าภูฐาน 5. นางรมฮังการี เห็ดเขต ร้อน 6. เป๋าฮื้อ 25-30oC 10-15 25-30oC 10-15 25-30oC 30-45 ที่มา: 1. ศูนย์วิจัยเห็ดเขตหนาว (ดอยปุย) 2. โครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงายในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระ บรมราชินีนาถ 13 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า และเห็ดภูฐาน เห็ดนางรมและเห็ดภูฐานเป็นเห็ดที่เพาะง่ายสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปีสำหรับเห็ด นางฟ้านั้นจะออกดอกได้ดีเมื่อสภาพอากาศค่อนข้างหนาวเย็น ผู้เพาะเห็ดมักจะสับสนในการ เรียกชื่อเห็ด ในสกุลนี้ บ้างเรียกเห็ดนางรมว่าเห็ดนางฟ้า และเรียกเห็ดภูฐานว่านางฟ้า ทำให้อาจ เกิดการสับสนในการจัดหาเชื้อพันธุ์ที่ต้องการ เกษตรกรบางรายอาจจะยังไม่เข้าใจถึงความสัมพันธ์ ของสภาพอากาศที่มีผลต่อการเจริญของเห็ดแต่ละสายพันธุ์ เช่นเห็ดนางฟ้า ชอบสภาพอากาศที่ หนาวเย็น เราต้องผลิตก้อนเห็ดในช่วงปลา ยฤดูฝน เพื่อให้ได้ผลผลิตในฤดูหนาว สิ่งเล็กน้อย เหล่านี้ต้องศึกษาให้เข้าใจและถือเป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการวางแผนการผลิตเพื่อให้มีประสิทธิภาพ สูงสุด เห็ดในสกุลนี้ สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด มีคุณค่าทางอาหารสูง รสชาติอร่อย เป็นที่ต้องการของตลาด เห็ดนางรม ความสำคัญ และประโยชน์ทั่วไป เห็ดนางรมมีถิ่นกำเนิดแถบยุโรป มีการเจริญเติบโตได้ดีในไม้โอ๊ค (oak) เมเปิ้ล (maple) ไม้ท้อ (peach) ฯลฯ และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตอบอุ่น ต่อมาได้มีการทดลองเพาะเลี้ยงใน ไทย พบว่าสามารถปรับตัวเจริญได้ดีในไทยจนเป็นที่รู้จักกันดี เห็ดนางรมจัดเป็นเห็ดที่นิยม รับประทานกันมาก เป็นเห็ดที่มีสีขาวสะอาด และมีรสชาติหอมหวาน เนื้อไม่เหนียว เห็ดนางฟ้า หรือเห็ดนางรมอินเดีย ความสำคัญ และประโยชน์ทั่วไป มีถิ่นกำเนิดในแถบภูเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย ในสภาพธรรมชาติชอบเจริญเติบโตตาม ตอไม้ผุ ในบริเวณนี้มีอากาศชื้น และเย็น มีลักษณะคล้ายเห็ดนางรม และเห็ดเป๋าฮื้อ แต่ดอกจะมี สีขาวนวลจนถึงสีน้ำตาลอ่อน เห็ดนางฟ้าสามารถเจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิระหว่าง 15-35 0C และ ที่ 25 0C เป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุด เห็ดชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดีให้ผลผลิตเร็ว และ ให้ผลผลิตในรูปการค้าได้ เพราะมีขนาดดอกปานกลาง เนื้อแน่น มีกลิ่นหอม รสหวาน มีความ กรอบ เก็บรักษาไว้ได้นานกว่าเห็ดนางรม โดยเฉพาะในที่ที่ควบคุมอุณหภูมิ ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญของเห็ดนางรม , นางฟ้า และเห็ดภูฐาน 1. อุณหภูมิ ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเส้นใย คือ 25 - 30 0C ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ดอกเห็ดสามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีด้วย และอุณหภูมิสร้างดอกประมาณ 25 0C ดังนั้นสภาพของโรงบ่มก้อน และโรงเปิดดอกเห็ดนั้นควรจะมีสภาพแวดล้อมที่ดี 2. ความชื้น ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่ผลิตก้อนเห็ดส่วนผสมต่าง ๆ ควรจะมีความชื้นเหมาะสม คือประมาณ 70% ส่วนในช่วงเปิดดอกนั้นควรมีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศประมาณ 90% ถ้าหาก 14 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ความชื้นต่ำกว่ามาตรฐาน หรือมีความชื้นที่ไม่สม่ำเสมอจะทำให้ผลผลิตต่ำ โรคและแมลงต่างๆ ก็จะ เข้ามารบกวนทำลายได้ง่าย 3. อากาศ ในกรณีที่โรงเรือนซึ่งใช้ในการเปิดดอก มีการระบายถ่ายเทอากาศไม่ดีพอจะมี ปัญหาเห็ดขาด ออกซิเจน เส้นใยของเห็ดจะไม่สามารถสร้างตุ่มดอกได้อย่างมีคุณภาพ สภาพดอก เห็ดจะผิดปรกติ และผลผลิตจะต่ำมาก 4. แสงสว่าง แม้ว่าเส้นใยเห็ดจะสามารถเจริญเติบโตได้ในที่ซึ่งไม่มีแสง หรือแสงน้อย แต่ การที่เห็ดจะออกดอกได้ดีนั้น จำเป็นจะต้องมีแสงในระดับหนึ่งที่พอเหมาะ การเจริญเติบโตจึงจะ สมบูรณ์ 5. สารอาหาร ควรให้มีสารอาหารพอเพียงตามสูตร 6. ความเป็นกรดเป็นด่าง เห็ดในสกุลนี้สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพอาหาร ที่เป็นกรด จนถึงระดับกลาง คือจะมีค่า pH ประมาณ 5- 7 เห็ดเป๋าฮื้อ ความสำคัญและประโยชน์ทั่วไป เห็ดเป๋าฮื้อเป็นเห็ดนำเข้าจากประเทศจีนเป็นเห็ดที่รับประทานได้อีกชนิดหนึ่ง ถือว่าเป็น เห็ดที่มีรสอร่อยไม่แพ้เห็ดชนิดอื่น โดยธรรมชาติขึ้นอยู่บนเปลือกไม้ หรือขอนไม้ผุในฤดูฝน เห็ด เป๋าฮื้อมีราคาค่อนข้างสูงสม่ำเสมอตลอดปี สามารถนำไปผลิตอาหารกระป๋องได้ เพราะโครงสร้าง ของเห็ดมีการเปลี่ยนแปลงน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับเห็ดชนิดอื่น สามารถเก็บรักษาในสภาพเห็ด สดได้นานกว่าเห็ดชนิดอื่นโดยเฉพาะการเก็บในตู้เย็น นอกจากนี้ยังสามารถเพาะได้ทุกฤดูกาล และทุกภาคของประเทศ 15 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ราคาเห็ดนางรมแต่ละชนิด ตาราง 2 ราคาเห็ดนางรมแต่ละชนิด ชนิดเห็ด ราคาเห็ดต่อกิโลกรัม (บาท) ขายส่ง ขายปลีก 1. นางรมดอย 2. นางรมทอง 160 160-200 3. นางรมหลวง 300 300-400 4. นางรมขาว 5. นางฟ้า 6. นางรมเทา 7. นางฟ้าภูฐาน 8. นางรมฮังการี 30-35 40-50 9. เป๋าฮื้อ 70-80 80-100 ที่มา: 1. ศูนย์วิจัยเห็ดเขตหนาว (ดอยปุย) 2. โครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงายในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เอกสารอ้างอิง: 1. ศราวุฒิ ปิงเขียว. 2551ชนิดของเห็ดนางรมที่เพาะในประเทศไทย. ศูนย์วิจัย เห็ดเขตหนาว จังหวัดเชียงใหม่. 2. โครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงายในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ 3. ปัญญา และกิตติพงษ์ (2538).บรรณ บูรณะชนบท, 2546. การเพาะเห็ดนางรม–นางฟ้า. 80 หน้า , สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม 16 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การเพาะเลี้ยงเห็ดนางรม การเพาะเลี้ยงเห็ดนางรม เช่นเดียวกับเห็ดอื่นๆ การเพาะเลี้ยงเห็ดนางรมจะมีขั้นตอนการเพาะเลี้ยงที่ประกอบด้วย - การผลิตหัวเชื้อเส้นใยเห็ดบริสุทธิ์ (การผลิตแม่เชื้อ) - การผลิตหัวเชื้อเห็ดในเมล็ดธัญพืช - การเพาะเห็ด (ก้อนเชื้อ / เพาะในท่อนไม้) - การทำให้เกิดดอกเห็ด การผลิตหัวเชื้อเห็ดบริสุทธิ์ เพื่อที่จะได้หัวเชื้อเห็ดที่มีคุณภาพดีและให้ผลผลิตสูงควรปฏิบัติ ดังนี้ การเพาะเลี้ยงเส้นใยเห็ดเพื่อผลิตหัวเชื้อเห็ดบริสุทธิ์ การเพาะเลี้ยงเส้นใยเห็ดเพื่อผลิตหัวเชื้อเห็ดบริสุทธิ์อาจทำได้ 2 กรณีดังนี้ 1. การเพาะเลี้ยงสปอร์ส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีปรับปรุงพันธุ์ หรือผสมพันธุ์เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ 2. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ส่วนใหญ่จะใช้ในการขยายเส้นใยเห็ดนางรมกันมาก เพราะทำง่ายสะดวก รวดเร็ว และจะได้ดอกเห็ดที่มีลักษณะเหมือนพันธุ์เดิมทุกประการ อาหารเลี้ยงเชื้อเห็ดนางรม การทำอาหารวุ้น (PDA) สูตรอาหารวุ้น PDA (Potato Dextrose Agar) มันฝรั่ง 200 กรัม กลูโคส 20 กรัม วุ้นผง 15-20 กรัม น้ำกลั่น 1 ลิตร วิธีการทำ 1. นำมันฝรั่งล้างน้ำให้สะอาดปอกเปลือก (ในกรณีที่จะใช้เลี้ยงเชื้อเห็ดไม่ต้องปอก เปลือกก็ได้) แล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ขนาด 1 ลบ.ซม. 2. นำไป ต้มกับน้ำ 1/2 ลิตร นานประมาณ 20 นาที(หรือจนมันฝรั่งสุก) 3. เสร็จแล้วกรองเอาแต่น้ำคั้นมันฝรั่ง 4. น้ำส่วนที่เหลืออีก 1/2 ลิตร นำมาละลายผงวุ้นให้เข้ากัน ยกขึ้นตั้งไฟพร้อมกับ ใส่ น้ำตาลกลูโคส เมื่อเข้ากันดีแล้วก็นำน้ำคั้นมันฝรั่งเทลงผสมต้มอีกประมาณ 2-3 นาที ยกลง 5. นำมากรอกใส่ขวดแบนสูงประมาณ 1.5 นิ้ว โดยกรอกผ่านกรวยแก้วเพื่อไม่ให้ เลอะคอขวด 17 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 6. ทิ้งไว้สักครู่ใหญ่ อุดจุกสำลี ปิดทับด้วยกระดาษหรือพลาสติกอีกทีหนึ่ง แล้ว นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดัน(autoclave) นานประมาณ 15-20 นาที เสร็จแล้วยกลง 7. นำขวดอาหารวุ้นมาเอียง รูปการทำอาหารวุ้น (PDA) ที่มา : ปัญญา และกิติพงษ์(2538 ) การเลือกดอกเห็ดทำพันธุ์ - ควรเป็นดอกที่สมบูรณ์ หมวกดอกควรมีลักษณะงอโค้งคล้ายเห็ดมะม่วง - ดอกไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ควรอยู่ในระยะก่อนที่จะมีการสร้างสปอร์ - มีก้านดอกที่แข็งแรง ไม่มีเชื้อจุลินทรีย์ หรือเชื้อทำลายดอกเห็ด - สีของดอกควรเป็นสีขาวหรือเทา ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์และต้องไม่มีสีอื่นปะปน - ควรคัดดอกเห็ดจากถุงก้อนเชื้อที่ให้ผลผลิตสูงกว่าก้อนอื่น 18 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การเขี่ยเชื้อเห็ดนางรม ขั้นตอนการเขี่ยตัดเชื้อเห็ดเพื่อนำมาเพาะเลี้ยงในอาหารวุ้น ผสมยีสต์สกัด ควรปฏิบัติดังนี้ 1. ใช้เข็มเขี่ยชุบแอลกอฮอล์พร้อมลนไฟฆ่าเชื้อที่ปลายเข็มเขี่ย ไล่ขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงส่วน ของ ด้ามที่ใช้จับ การลนเข็มควรลนในแนวตรงเพื่อให้เข็มเ ขี่ยถูกเปลวไฟให้มากที่สุด ถือเข็มให้ ปลายเข็ม อยู่ในอากาศนาน 15-20 วินาทีและอย่าให้ปลายเข็มสัมผัสกับส่วนใดๆ ภายในตู้เขี่ย 2. ใช้มือฉีกดอกเห็ดออกเป็น 2 ส่วน แล้วใช้เข็มเขี่ยจิกชิ้นส่วนของเนื้อเยื่อภายในดอก โดย เลือกเนื้อเยื่อระหว่างก้านดอกกับหมวกเห็ด ใช้เข็มเขี่ยจิกเนื้อเยื่อติดมาเพียงเล็กน้อยก็พอ 3. วางดอกเห็ดลงพร้อมใช้มือหยิบขวดอาหารวุ้น ใช้นิ้วก้อยและอุ้งมือที่ถือเข็มเขี่ยดึงจุกสำลี ออกพร้อมกับถือเอาไว้ ห้ามกำจุกสำลีเด็ดขาด จากนั้นลนปากขวดอาหารวุ้น เพื่อฆ่าเชื้อและสอด เข็มเขี่ยที่มีเนื้อเยื่อติดอยู่ที่ส่วนปลายเข้าไป วางเนื้อเยื่อบนอาหารวุ้น ดึงเข็มออก ลนไฟฆ่าเชื้อที่ ปากขวด ก่อนปิดจุกขวด 4. นำขวดอาหารวุ้นเก็บในที่มืดและอุณหภูมิสูง จะช่วยให้เส้นใยเห็ดเดินเต็มได้เร็วขึ้น ภายใน10-15 วัน เมื่อเส้นใยเดินเต็มอาหารวุ้นแล้ว นำไปขยายลงในเมล็ดธัญพืชต่อไป หรือถ่ายเชื้อ เห็ดจาก อาหารวุ้น ขยายลงบนขวดอาหารวุ้นหลายๆ ขวดได้ 19 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รูปการเขี่ยเชื้อเห็ดนางรม ที่มา : ปัญญา และกิติพงษ์(2538 ) 20 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การผลิตหัวเชื้อเห็ด นิยมขยายเส้นใยเห็ดลงบนเมล็ดธัญพืช ก่อนนำไปลงในถุงก้อนเชื้อ เมล็ดพืชที่นิยมคือเมล็ด ข้าวฟ่าง เพราะหาง่าย ราคาถูก หรืออาจใช้เมล็ดข้าวเปลือกแทนวิธีการเตรียมเมล็ดธัญพืชควร ปฏิบัติดังนี้ 1. นำเมล็ดข้าวฟ่างมาคัดเอาสิ่งเจือปนออก แล้วแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน (เมล็ดข้าวฟ่าง 1 กก. จะ ใช้บรรจุขวดแบนได้ประมาณ 50 ขวด หรือ 10 ขวด/ กก.) 2. ต้มจนสุกแต่เมล็ดต้องไม่บาน หากบานมากเกินไปจะทำให้เส้นใยจับตัวกันแน่นไม่สะดวก ในการเขี่ยเชื้อไปยังก้อนเชื้อเห็ด ควรจะเป็นการสุกรอบนอกเมล็ดก็เพียงพอ 3. นำมาผึ่งให้แห้งพอหมาด แล้วบรรจุลงในขวดแบนประมาณ ครึ่งขวด ปิดด้วยจุกสำลีแล้ว หุ้มด้วยกระดาษ 4. นำขวดเมล็ดข้าวฟ่างไปนึ่งด้วยหม้อนึ่งความดัน โดยใช้ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 30 นาทีเพื่อฆ่าเชื้อ 5. เมื่อเมล็ดข้าวฟ่างเย็นตัวลง ให้เขย่าขวดเพื่อให้ความชื้นของเมล็ดในขวดกระจายอย่าง สม่ำเสมอ จะช่วยให้เส้นใยเห็ดเดินเร็วขึ้น 6. ทำการเขี่ยเส้นใยเห็ดในอาหารวุ้นลงไปในขวด โดยใช้เทคนิคการปลอดเชื้อและควร ปฏิบัติภายในตู้เขี่ยเชื้อ เส้นใยจะเจริญเต็มเมล็ดข้าวฟ่างภายใน 2-3 สัปดาห์แล้วนำไปปลูกเชื้อใน ถุงก้อนเชื้อต่อไป การผลิตเห็ดนางรมในถุงพลาสติก หัวเชื้อเห็ดนางรมสามารถนำไปใช้ในการผลิตเห็ดทั้งในถุงพลาสติกและในท่อนไม้ เพื่อให้ เห็ดนางรมใช้อาหารจากวัสดุทั้ง 2 อย่าง ในการเจริญและพัฒนาเป็นดอกเห็ดต่อไป การผลิตเห็ด นางรมในถุงพลาสติก วัสดุที่บรรจุในถุงอาจเป็นขี้เลื่อยหรือฟางสับ ซังข้าวโพดอ่อน แล้วแต่วัสดุใน ท้องถิ่นนั้น แต่นิยมใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา และไม่จำเป็นต้องหมักขี้เลื่อย แต่จำเป็น ต้องผสมอาหาร เสริมเพิ่มลงในส่วนผสมเพื่อเห็ดนางรมได้ใช้อาหารเต็มที่ สูตรอาหารที่นิยมใช้มีหลายสูตร เช่น สูตรที่1 ฟาร์มเห็ดบ้านสวน ขี้เลื่อย 100 กก. รำละเอียด 10 กก. น้ำตาลทรายแดง 1 กก. ปูนขาว 1 กก. แคลเซียม 300 กรัม น้ำสะอาด 60-70 ลิตร 21 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สูตรที่ 2 ฟาร์มเห็ดสายสัมพันธ์ บ้านธิ ขี้เลื่อย 100 กก. รำละเอียด 8 กก. น้ำตาลทราย 1 กก. ปูนขาว 1 กก. แคลเซียม 1 กก. ดีเกลือ 200 กรัม น้ำ65-70 ลิตร สูตรที่3 ของฟาร์มเห็ดเมืองงาย ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กก. รำละเอียด 7 กก. ปลายข้าว 1 กก . ยิปซัม (แคลเซียมซัลเฟต) 0.5 กก . ดีเกลือ (แมกนีเซียมซัลเฟต) 0.2 กก . ปูนขาว 1 กก. ภูไมท์ 2 -3 กก. น้ำ ปรับความชื้น 70-80 ลิตร หมายเหตุ การเพิ่มปริมาณอาหารเสริมสูงอาจทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้ แต่ก้อนเชื้ออาจเสียหายจาก เชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่นได้เช่นกัน ขั้นตอนการเตรียมวัสดุเพาะเห็ดนางรม การเตรียมวัสดุเพาะเห็ดนางรม วัสดุหลักหากใช้ฟางข้าวแทนขี้เลื่อยจะต้องนำฟางข้าวมา สับเป็นท่อนๆ ยาว 2-3 นิ้วและหมักฟางไว้ 5-7 วัน วิธีการผสม 1.ใช้วัสดุหลักกองบนพื้นปูนซีเมนต์ พร้อมกับใส่อาหารเสริมลงไปกระจายให้ทั่ว ใช้พลั่ว คลุกเคล้าผสมให้เข้ากันให้ดี ให้อาหารเสริมกระจายในส่วนผสมอย่างสม่ำเสมอ 2. เติมน้ำลงไปในวัสดุเพาะให้ มีความชื้นกระจายอย่า งทั่วถึง ทดสอบความชื้นโดยนำขึ้นมา กำแล้วบีบ หากพบว่าไม่มีน้ำไปไหลออก ตามง่ามมือ และเมื่อแบมือออก ส่วนผสมยังจับกันเป็นก้อน แสดงว่าความชื้นในอาหารอยู่ในระดับ เหมาะสม 3.นำวัสดุที่ผ่านการผสมแล้ว บรรจุในถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 7 x 12 นิ้ว หรือ 7 x 13 22 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นิ้ว โดยอัดส่วนผสมลงในถุงพลาสติก ให้มีน้ำหนักประมาณ 800 กรัม 4. สวมคอขวดใช้ยางรัดแล้วปิดจุกด้วยสำลี 5. นำไปนึ่งด้วยหม้อนึ่งลูกทุ่ง นาน 3-4 ชม. นับจากน้ำเดือด หลังจากทิ้งให้ก้อนเชื้อ เห็ดเย็นตัวลง 6. นำหัวเชื้อเห็ดหรือเชื้อขยายในเมล็ดข้าวฟ่างใส่ลงไป 10-20 เมล็ด พร้อมกับเขย่าให้เมล็ด ข้าวฟ่างกระจาย 7. นำถุงก้อนเห็ดไปบ่มในโรงบ่มเส้นใยซึ่งเป็นที่มืดและมีอุณหภูมิสูง ประมาณ 28 - 35 ๐ซ. เพื่อ เร่งการเจริญเติบโตของเส้นใย เส้นใยเห็ดจะเดินเต็มก้อนเห็ดภายใน 2-3 สัปดาห์ควรพักก้อน เห็ดไว้ ระยะหนึ่งเพื่อให้เส้นใยสะสมอาหาร 8. หลังจากนั้นหากสามารถนำก้อนเห็ดไปไว้ที่อุณหภูมิต่ำเพื่อให้จุลินทรีย์ ที่จะทำลายเห็ด ชะงักการเจริญเติบโต ที่อุณหภูมิประมาณ 17-20 องศาเซลเซียส นาน 10-15 วัน จะเป็นผลดีต่อการ เพาะเลี้ยง 9. ต่อมานำก้อนเชื้อเข้าสู่โรงเรือนเปิดดอก โดยวางซ้อนกันบนชั้นตัวเอ (A) หรือชั้นแขวนพลาสติก ซึ่งการเรียงไม่ควรให้สูงเกิน 1.5 เมตร เพราะความชื้นและความเย็นจากพื้น จะขึ้นไปไม่ถึง นอกจากนี้ยังสะดวกต่อการเก็บดอก ภายในโรงเรือนควรรักษาความชื้นไว้ที่ 70-90 % โดยการรดน้ำ 23 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การเขี่ยเชื้อลงถุงก้อนเห็ด และการเปิดถุงให้เห็ดออกดอก ที่มา : ปัญญา และกิติพงษ์(2538 ) 24 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขั้นตอนการเขี่ยเชื้อลงถุงก้อนเห็ด และการเปิดถุงให้เห็ดออกดอก ข้อควรระวังในการเขี่ยต่อเชื้อลงในถุงก้อนเห็ด 1. หัวเชื้อเห็ดต้องไม่แก่หรืออายุมากเกินไป เพราะเส้นใยจะเจริญเติบโตช้า และต้องไม่มี เชื้อจุลินทรีย์อื่นปนเปื้อน 2. สถานที่ที่ใช้ในขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วต้องสะอาด มีการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ อย่างสม่ำเสมอ การเปิดถุงก้อนเชื้อเห็ดนางรม หลังจากเส้นใยเห็ดเจริญเต็มก้อนแล้ว ควรปล่อยให้เส้นใยเห็ดรัดตัวและสะสมอาหารเพิ่ม มากขึ้นประมาณ 5-7 วัน เปิดถุงก้อนเห็ดสามารถทำได้ 3 วิธีดังนี้ 1. การเปิดปากถุงโดยการม้วนปากถุงลง ใช้วิธีดึงคอขวดออกพร้อมกับม้วนปากถุงลง แล้ว นำไปวางบนชั้นภายในโรงเรือนเพาะเห็ด ข้อเสียของการเปิดถุงแบบนี้คือ จะมีน้ำขังบนถุงทำให้ก้อน เชื้อเสียได้และความชื้นในก้อนเห็ดสูญหายได้เร็วขึ้น 2. การเปิดปากถุงโดยใช้มีดปาดปากถุงบริเวณคอขวดออก แล้วนำไปวางบนชั้นเพาะเห็ดมี ข้อเสียเหมือนวิธีแรก 3. การกรีดข้างถุงโดยใช้มีดปาดตรงคอขวดออก หรือดึงจุกสำลีออกแล้วนำก้อนเชื้อมาวาง เรียงซ้อนกันภายในโรงเรือน ปล่อยให้เห็ดเจริญออกมาทางปากถุงทางเดี่ยว เป็นวิธีใช้กันมากเพราะ ประหยัดพื้นที่และน้ำไม่ขังบนก้อนเชื้อ การผลิตเห็ดนางรมในท่อนไม้ วิธีการนี้เป็นการเลียนแบบธรรมชาติ เพราะเห็ดชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตในไม้เนื้ออ่อนได้ เป็นอย่างดีดอกเห็ดที่เกิดบนท่อนไม้สามารถเจริญอยู่ได้นาน 5-7 วัน โดยไม่เน่าเสียผลผลิตที่ได้ ค่อนข้างสูง สามารถปฏิบัติเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ 1. เลือกไม้เนื้ออ่อนที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 นิ้ว มีความยาวประมาณ 1 เมตร ถ้าเป็น ท่อนไม้ยางพาราควรทิ้งไว้ 5-7 วัน เพื่อให้ยางที่เปลือกแห้งก่อน 2. ใช้ค้อนหรือสว่านเจาะรูบนท่อนไม้แบบสลับฟันปลา แต่ละรูลึกประมาณ 2 นิ้ว และอยู่ ห่างกัน 4-6 นิ้ว 3. นำหัวเชื้อเห็ดนางรมใส่ลงไปในรู พร้อมกับปิดปากรูด้วยจุกพลาสติก หรือเปลือกหุ้มไม้ที่ เจาะออกมาเคลือบขี้ผึ้ง จากนั้นนำท่อนไม้ไปบ่มในร่มนานประมาณ 1 เดือน เพื่อให้เส้นใยเห็ด นางรม เจริญในท่อนไม้ก่อน จึงนำไปเปิดดอกภายในโรงเรือนเปิดดอก 4. เห็ดนางรมจะเริ่มให้ดอกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไม้ผุ จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนจะได้ผล ผลิตประมาณ 7 กก.ต่อท่อนขี้เลื่อยที่จะนำมาสำหรับขยายเชื้อเห็ดนางรมควรเป็นไม้ชนิดเดียวกันจะ ให้ผลดีที่สุด สภาพ โรงเรือนที่ใช้เพาะเห็ดควรเก็บความชื้นได้ดี และควรมีความชื้นสัมพัทธ์ให้อยู่ใน ระดับ 80 % 25 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การผลิตเห็ดนางรมในท่อนไม้ ที่มา : ปัญญา และกิติพงษ์(2538) 26 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัญหาในการเพาะเห็ดนางรม 1. เส้นใยไม่เดินลงก้อนเชื้อเห็ด อาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ 1.1 หัวเชื้อเห็ดเป็นเชื้ออ่อน หรือเส้นใยที่นำมาทำหัวเชื้อเห็ดผ่านการต่อเชื้อเห็ดมาหลาย ครั้ง ทำให้เส้นใยอ่อนแอ จึงควรเลือกหัวเชื้อที่ได้จากพันธุ์ดี ให้ผลผลิตสูง และไม่ควรต่อเชื้อบ่อยครั้ง 1.2 หัวเชื้อเห็ดมีเชื้อจุลินทรีย์อื่นปนเปื้อน และเจริญแข่งกับเส้นใยเห็ด ผู้เพาะเลี้ยงควร สังเกตตั้งแต่ระยะเลี้ยงบนอาหารวุ้นว่ามีเชื้ออื่นปนหรือไม่ และหลังจากขยายลงบนเมล็ดข้าวฟ่าง แล้ว ต้องไม่ มีเชื้อจุลินทรีย์อื่น 1.3 เลือกวัสดุเพาะที่ปราศจากสารเคมีปะปนอยู่ โดยเฉพาะสารกำจัดโรคพืชไม่ว่าจะเป็น ฟางข้าว ขี้เลื่อย 1.4 สภาพความเป็นกรด-ด่าง ไม่เหมาะสม ควรให้มีpH ระหว่าง 6.5-6.8 1.5 ขี้เลื่อยที่ใช้เพาะมีความชื้นมากเกินไป เพราะสภาพดังกล่าวเชื้อแบคทีเรียและเชื้ออื่นจะ เจริญได้ดีกว่า 2. เส้นใยเห็ดเดินบางมาก เส้นใยเห็ดเดินแต่ลักษณะการเดินของเส้นใยบางมากอาจเกิดจาก 2.1 มีอาหารเหลืออยู่น้อยในถุงก้อนเห็ด หรือมีอาหารเสริมน้อยเกินไป 2.2 การนึ่งฆ่าเชื้อยังไม่สมบูรณ์เพียงพอ ใช้เวลาในการนึ่งน้อยเกินไป 3. เส้นใยเห็ดเดินแล้วหยุด ก้อนเชื้อเห็ดมีความชื้นมากเกินไป จะสังเกตเห็นน้ำไหลมารวมกันที่ก้นถุง เชื้อแบคทีเรียจะ เจริญได้ดีมีกลิ่นเหม็นเกิดขึ้น และอาจเกิดจากเชื้อเห็ดอ่อนแอ 4. เห็ดออกดอกช้าหลังจากเปิดถุงแล้ว เมื่อเส้นใยเดินเต็มถุงแล้วควรปล่อยเส้นใยรัดตัว นาน 8-10 วัน เส้นใยต้องสานกันแน่นและ สะสมอาหารให้มากพอจึงจะพัฒนาไปเป็นดอก นอกจากนี้อาจมีปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์สูง เพราะการระบายอากาศไม่ดีพอ หรือภายในโรงเรือนอาจมีอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป หรือมีความชื้น ไม่เพียงพอ 5. ดอกเห็ดเกิดขึ้นแต่ไม่พัฒนาไปเป็นดอก มักจะเหี่ยวและแห้งตายในที่สุด อาจเกิดขึ้นจาก 5.1 หัวเชื้อเห็ดอ่อนแอ ต้องเลือกหัวเชื้อที่ดีและแข็งแรงเท่านั้น 5.2 เปิดปากถุงก้อนเชื้อกว้างเกินไป ทำให้เกิดดอกเห็ดมากโดยอาหารมีไม่พอเพียงและน้ำ ในก้อนเชื้อเคลื่อนย้ายออก จึงไม่ควรเปิดปากถุงให้กว้างเกินไป 5.3 ความชื้นในโรงเรือนมีน้อย ควรฉีดพ่นน้ำในทางตรงกันข้ามหากฉีดพ่นน้ำให้กระทบกับ ก้อนเห็ดโดยตรง จะทำให้ดอกเน่าเสียหายได้ควรฉีดพ่นน้ำเป็นละอองฝอยในอากาศ 27 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5.4 มีเชื้อจุลินทรีย์และเชื้ออื่นๆ แพร่ระบาดมาก จึงต้องรักษาความสะอาดภายในโรงเรือน ให้ดีและอาจมีแมลงศัตรูเห็ด กัดและทำลายก้อนเชื้อเห็ดจำเป็นต้องจัดโรงเรือนให้สะอาดก่อนนำ ก้อนเชื้อ เห็ดเข้า และระหว่างการเกิดดอก ศัตรูเห็ดนางรม เห็ดนางรมและเห็ดนางฟ้า มีคุณสมบัติทางกลิ่นที่ดึงดูดโรคและแมลงศัตรูเห็ดได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงมีศัตรูเห็ดรบกวนหลายชนิดเช่น 1.หนูและแมลงสาบ เริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ระยะเชื้อและดอก เห็ด การกำจัดควรใช้ยาเบื่อ หรือ. ใช้กับดัก 2. ไร ตัวไรจะดูดกินน้ำเลี้ยงระยะก้อนเชื้อและดอกเห็ด ทำให้ผลผลิตลดลง พบว่าการระบาด ของไรมีมากเมื่อความชื้นต่ำจึงควรให้ความชื้น อย่างสม่ำเสมอ การปล่อยให้เกิดการหมักของก้อน เชื้อบริเวณโรงเพาะ ก็เป็นการลดจำนวนไรได้ทางหนึ่ง การปราบไรควรเน้นในเรื่องความสะอาดและ การป้องกันมากกว่าการใช้สารเคมี เพราะอาจเป็นอันตรายมาถึงคนที่ กิน เห็ดได้ 3. แมลงหวี่ เกิดกับดอกเห็ดที่มีอายุมาก แมลงหวี่จะเข้ามาตอมและวางไข่แพร่พันธุ์ ควรนำ ก้อนเชื้อชนิดนี้ออกจากโรงเพาะทันที 4. โรคจุดเหลือง พบในเห็ดที่มีอายุมากตกค้างในการเก็บ หรือใช้น้ำที่ไม่สะอาดรดเห็ด โดยเฉพาะเมื่ออากาศร้อนจัด 5. ราเมือก ลักษณะเป็นสายสีเหลือง มีกลิ่นคาวจัด สามารถระบาดโดยสปอร์ได้ ควรป้องกัน โดยการเอาก้อนเชื้อที่หมดอายุและเศษวัสดุใน เรือนเพาะ เพื่อไม่ให้เป้นแหล่งสะสมของเชื้อโรคเห็ด 6. หอยทาก มักกัดกินดอกเห็ดที่กำลังเจริญเติบโตทำให้ดอกเห็ดมีรอยกัดไม่ได้คุณภาพ แหล่งอ้างอิง - www.trakanmushroom.th.gs/.../mushroom.htm - aopdh06.doae.go.th/mushroom.htm - www.wangnamkheo.com/mutech01.htm - http://www.geocities.com/chayaporn_a/hed1.html - www.kanngan.com/old/40242/Unit_14/006.html - www.agric-prod.mju.ac.th/web-veg/mushroom/chapter9a2.pdf - ข้อมูลจาก กรมส่งเสริมการเกษตร - ปัญญา และกิตติพงษ์(2538).บรรณ บูรณะชนบท , 2546. การเพาะเห็ดนางรม – นางฟ้า . 80 หน้า , สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม - บรรณ บูรณะชนบท , 2547.คู่มือเพาะเห็ด . 280 หน้าสำนักพิมพ์ เพ็ท-แพล้น พับลิซซิ่ง, กรุงเทพมหานคร - ฟาร์มเห็ดบ้านสวน อ. สารภี จ. เชียงใหม่ - ฟาร์มเห็ดสายสัมพันธ์ บ้านธิ จ. ลำพูน 28 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การเก็บเกี่ยวการเก็บรักษา การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดนางรม ทำไมจึงเป็นเรื่องจำเป็น? อย่างที่เราทราบกันแล้วว่าเห็ดเป็นอาหารประเภทโปรตีนที่ดีแล้วเห็ดยังสามารถใช้แทน เนื้อสัตว์ต่าง ๆ สำหรับคนที่งดกินเนื้อสัตว์ นอกจากนั้นเห็ดยังมีคุณค่าทางอาหารในด้านอื่นๆอีก มากมายไม่ว่าจะเป็น การป้องกันโรคมะเร็ง ,โรคหัวใจ,ลดคลอเรสเตอรอลในเส้นเลือด หรือยังช่วยใ น ระบบขับถ่าย เพราะเห็ดมีสารอาหารที่พบได้สูงกว่าเนื้อสัตว์บางชนิดเช่น สารเบต้า -กลู แคน,ไฟเบอร์, กรดอะมิโน จึงทำให้เห็ดเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค แต่เห็ดบางชนิดก็สามารถพบได้ เป็นบางช่วงของปีและยังเป็นเห็ดหายาก เช่น เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ เป็นต้น แล ะเนื่องจากเห็ดเป็น ผลผลิตที่มีอายุค่อนข้างสั้นทำให้การเก็บรักษาเป็นสิ่งที่จำเป็นดังนั้นจึงต้องมีการจัดการในเรื่องของ การเก็บเกี่ยวการเก็บรักษาร่วมไปถึงการถนอมเห็ดให้สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุดและนอกจากที่ กล่าวมาในข้างต้นแล้วในกรณีที่เห็ดมีปริมาณมากเกินกว่าตลา ดจะรับได้การเก็บรักษาและการถนอม ไว้อย่างเดียวคงไม่พอจึงจำเป็นที่จะต้องนำเห็ดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ เห็ดนั้นๆ วัตถุประสงค์ 1) ทำให้เห็ดมีอายุยาวขึ้น หลังการเก็บ 2) ทำให้เห็ดคงสภาพทั้ง สี กลิ่น เนื้อสัมผัส 3) ทำให้เห็ดคงคุณค่าทางอาหารให้มากที่สุด 4) ทำให้ทราบถึงวิธีการจัดการโรงเรือนและก้อนเชื้อหลังการเก็บเกี่ยว 5) เพื่อเพิ่มมูลค่าของเห็ดที่มี การเน่าเสียของเห็ด สาเหตุของการเน่าเสียของเห็ด 1) น้ำความชื้น น้ำและความชื้นเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้เห็ดสามารถเจริญเติบโตได้แต่ ในกรณีที่มีน้ำหรือความชื้นมากเกินไปก็จะทำให้เห็ดเน่าเสียได้และเห็ดแต่ละชนิด ต้องการระดับความชื้นที่แตกต่างกันไปซึ่งถ้าผู้เพาะเห็ดไม่คำนึงถึงเรื่องนี้ก็จะทำให้ ผลผลิตที่ออกมามีปัญหา 29 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2) จุลินทรีย์ แบคทีเรีย เชื้อรา แบคทีเรีย จุลินทรีย์ ร่วมไปถึงเชื้อรา ล้วนแต่เป็นศัตรูสำคัญของเห็ดอันดับ หนึ่งเลยที่เดียว เพราะเห็ดเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเดียวกับเชื้อราดังนั้นความต้องการ อาหารรวมถึงการมีชีวิตจึงคล้ายกันแต่เห็ดและจุลินทรีย์ หรือราไม่สามารถอาศัยอยู่ ด้วยกันได้จึงเกิดการทำลายกันเองดังนั้นถ้าโรงเพาะไม่มีการจัดการหรือดูแลการ ปนเปื้อนของจุลินทรีย์เหล่านี้จะทำให้เห็ดเกิดการเน่าเสียได้ 3) ชนิดของเห็ด เห็ดแต่ละชนิดจะมีอายุที่แตกต่างกันดังนั้นชนิดของเห็ดจึงเป็นอีกปัจจัยของ การเน่าเสียเช่นกัน 4) ขบวนการการเจริญเติบโตของเห็ด เห็ดเมื่อเราเก็บมาแล้วไม่มีการเก็บรักษาเห็ดเหล่านั้นก็จะยังมีก าร เจริญเติบโตของเนื้อเยื่ออยู่ทำให้เห็ดสามารถเน่าเสียได้เร็วถึงแม้จะมีการตัดรากของ เห็ดทิ้งแล้วก็ตาม การเก็บเกี่ยวเห็ดนางรม 1) ดอกเห็ดไม่บานจนเกินไป 2) ขอบหมวกไม่แตก ไม่ฉีกขาด วิธีและขั้นตอนการเก็บเกี่ยว 1) ใช้วิธีการจับดอกเห็ดและขยับเล็กน้อยและดึงออกจะทำให้ดอกเห็ด หลุดจากวัสดุเพาะ 2) นำเห็ดที่ได้จากการเก็บให้รีบนำมาตัดรากออกและใส่ถุงหรือภาชนะสำหรับบรรจุแล้ว นำออกไปส่งขายหรือแช่ในที่ที่อุณหภูมิต่ำเพื่อป้องกันการเน่าเสียของเห็ด 3) อย่าใช้วิธีการตัดเห็ดจากวัสดุเพาะเนื่องจากจะทำให้เศษเห็ดติดอยู่กับวัสดุเพาะและจะ เน่าหมักหมมกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคทำให้ก้อนเชื้อเสีย การจัดการโรงเพาะหลังการเก็บเกี่ยว ทำความสะอาดโรงเพาะโดยการล้างน้ำเปิดผ้าใบคลุมโรงเพาะให้แสงแดดเข้าถึง และพ่นน้ำยา ป้องกันเชื้อราและโรยปูนขาวที่โรงเพาะทิ้งไว้ พักโรงเพาะไว้ 15 วัน ในกรณีที่ดอกเห็ดมีปัญหาอาจ เกิดได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้ 30 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1) ถ้าดอกเห็ดมีขน ดอกแตกเป็นตุ่มคล้ายหนังคางคกแสดงว่าภายในโรงเรือนมีแก๊สมาก มี กลิ่นเหม็นฉุนอุณหภูมิสูง แก้ไขโดยการเปิดประตูโรงเรือนออกทุกด้านใช้น้ำฉีดล้างพื้น 2) ถ้าดอกเห็ดเน่า ชุ่มน้ำมาก มีสาเหตุมาจากแปลงเพาะแฉะมากเกินไป แก้ไขโดยการเปิด ประตูโรงเรือนออกทุกด้านใช้น้ำฉีดล้างพื้นหลังจากเก็บดอกแล้ว ควรตัดรากออกให้หมด มิฉะนั้นดอกจะเจริญเติบโตต่อและจะบานเร็วขึ้น การจัดการก้อนเชื้อเห็ด โดยปรกติก้อนเชื้อ 1 ก้อนจะให้ผลผลิตได้ประมาณ 4-6 รุ่น ดังนั้นหลังจากที่ก้อนเชื้อ หมดอายุจะเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียแล ะเชื้อราซึ่งเป็นศัตรูของเห็ดได้ก้อนเชื้อที่หมดอายุ สามารถจัดการได้โดยการนำไปทำลายทิ้ง โดยต้องห่างจากโรงเพาะ 100 เมตร หรือนำไปทำเป็นปุ๋ย ใส่ต้นไม้ โดยการนำก้อนเชื้อที่หมดอายุไปตากแดด 3-5 วันเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อ แล้วผสมกับแกลบ ดำหรือมูลสัตว์ นำไปปลูกต้นไม้ได้ การเก็บรักษาและการแปรรูป  เก็บในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก เมื่อมีการเก็บเห็ดออกจากโรงเพาะและรอแม่ค้ามารับให้นำเห็ดมาไว้ในที่ที่อากาศ ถ่ายเทได้สะดวกเพื่อป้องกันเห็ดอับ  ห้องเย็น ตู้เย็น ถังน้ำแข็ง เมื่อเก็บเห็ดและยังไม่ส่งขายในทันทีสามารถเก็บรัก ษาได้โดยการแช่ในห้องเย็น ถัง น้ำแข็ง หรือตู้เย็น โดยอุณหภูมิตั้งแต่ 0-4 องศาเซลเซียส การแปรรูปเห็ด แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ - สำเร็จรูป เห็ดกระป๋อง เห็ดแห้ง เห็ดแช่แข็ง - กึ่งสำเร็จรูป เห็ดดองเกลือ รูปแบบการแปรรูป 1) แช่แข็ง Freezing 2) กระป๋อง Sterilization 31 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3) ทำแห้ง Drying 4) ดอง Pickle คุณสมบัติของดอกเห็ดที่ใช้ในการแปรรูป 1) ดอกเห็ดที่สมบูรณ์เนื้อของดอกเห็ดแน่น 2) ดอกเห็ดสะอาดไม่มีเศษวัสดุอื่นปลอมปน 3) ดอกเห็ดไม่ถูกทำลายโดยแมลงและโรค การทำลายความหนาแน่นของจุลินทรีย์และน้ำย่อย 1) นำเห็ดที่ต้องการมาล้างในน้ำที่สะอาดเอาเศษวัสดุต่างๆที่อาจติดมากับดอกเห็ดออก 2) นำเห็ดมาลวกหรือนึ่งในน้ำร้อนอุณหภูมิ 85 - 90 องศาเซลเซียสซึ่งปกติจะใช่วิธีนึ่งเพราะจะ ทำให้สูญเสียคุณภาพทางอาหารน้อยกว่าและทำได้ในปริมาณที่มากกว่า ส่วนน้ำที่ใช้ต้มทั้ง ลวกโดยตรง หรือแบบนึ่งควรเติมกรดที่ช่วยลดปฏิบัติการใช้ออกซิเจนของเซล เช่น กรดน้ำ มะนาว (Citric acid) หรือกรด วิตามินซี (Ascorbic acid)ลงประมาณ 3-5 หยดต่อน้ำ10 ลิตร และทำการลวกใช้เวลาประมาณ 3-5 นาทีแต่ถ้าเป็นวิธีการนึ่งใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที การผลิตเห็ดแช่น้ำเกลือ การแปรรูปเห็ดในรูปของเห็ดแช่น้ำเกลือ เป็นวิธีที่มีความเป็นไปได้สูงที่สุดเพราะเป็นกรรมวิธีที่ง่าย ที่สุดวัตถุประสงค์มีอยู่ 2 ประการ คือ – เพื่อการขนย้ายไปยังโรงงานแปรรูปเป็นเห็ดกระป๋อง – เพื่อส่งขายโดยตรง ขั้นตอนในการทำเห็ดแช่น้ำเกลือ 1) ทำการลวกหรือนึ่งเพื่อทำลายจุลินทรีย์แล้วนำมาแช่ในน้ำเย็นธรรมด าประมาณ 30 นาที จากนั้นก็เอาออกมาทำให้สะเด็ดน้ำ แล้วใส่ลงไปในน้ำเกลือ ที่มีความเข้มข้นของเกลือ ประมาณ 10 - 18 เปอร์เซ็นต์ 2) เตรียมถังไม้ หรือถัง 50, 100 หรือ 200 ลิตร ที่มีฝาและเข็มขัดพร้อมที่สำคัญคือจะต้อง สะอาด บุภายในด้วยถุงพลาสติกขนาดความหนา 0.16 - 0.20 มิลลิเมตร 2 ถุงซ้อนกัน ขนาดที่ใส่เข้าไปในถังได้พอดี 32 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3) ใส่เห็ดที่แช่น้ำเกลือแล้ว ลงไปในถุงพลาสติกให้เต็มถัง แล้วทำการมัดปากถุงให้แน่นไม่ให้รั่ว ด้วยเชือกหรือลวดกันสนิม 4) ปิดฝาถังและรัดเข็มขัดให้ดี ส่งไปยังโรงงานกระป๋องภายในประเทศหรือต่างประเทศหรือส่ง ขายตามต้องการ เห็ดแช่แข็ง เครื่องมือที่ใช้ในการทำเห็ดแช่แข็ง Blast Freezer เป็นเครื่องมือที่ใช้ทำอาหารแช่แข็ง เป็นเครื่องทำความเย็นที่ สามารถเป่าเอาความเย็นเข้าไปยังอาหารหรือเห็ดให้แข็งตัวเร็วที่สุด เพื่อทำให้เกิดผลึกน้ำแข็งเล็ก ที่สุดเท่าที่จะเล็กได้ เครื่องแช่แข็งธรรมดาใช้ไม่ได้ เพราะจะทำให้เกิดผลึกน้ำแข็งโตเกินไปทำให้เซล ต่างๆ แตกเมื่อนำเอาไปปรุงอาหารสภาพของเห็ดก็จะเปลี่ยนแปลงไป เช่น เละ เป็นต้น เครื่องมือที่ ใช้แช่แข็งนี้ นอกจากจะใช้ความเย็นจัด คืออุณหภูมิต่ำกว่า - 35 หรือ -45 องศาเซลเซียส แล้ว จะต้องมีความเร็วของกระแสลมเป่าเพื่อให้เห็ดไม่จับกันเป็นก้อน หมายความว่าจะต้องมีความเร็ว ของลมภายในเครื่องสามารถเป่าให้เห็ดแข็งตัวเป็นดอกเดี่ยวในระยะเวลาอันสั้น (Individually Quick Frozen หรือ I.Q.F.) หรือที่เรียกว่า Blast Freezer ขั้นตอนการผลิตเห็ดแช่แข็ง 1) ทำการลวกหรือนึ่งเพื่อทำลายจุลินทรีย์แล้วนำไปแช่น้ำเย็น 4 - 5องศาเซลเซียสทิ้งไว้30 นาที หรือหากสามารถแช่ไว้จนเย็นได้ยิ่งดี 2) นำเห็ดที่แช่น้ำเย็นแล้วขึ้นมาผ่านลมเย็นให้น้ำส่วนเกินระเหยออกไปบ้างหรือให้หมาดๆ แล้วบรรจุใส่ภาชนะเช่น ตะกร้าสแตนเลท เพื่อทำการแช่แข็ง 33 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3) เข้าเครื่อง Blast Freeze ที่อุณหภูมิระหว่าง -35 ถึง -45 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 - 4 ชั่วโมง โดยปกติจะใช้เวลาทำให้เห็ดแข็งตัวในช่วงเวลาประมาณ 30 วินาทีได้ แต่หากมี ปริมาณเห็ดมากควรแช่ไว้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง เพื่อเห็ดจะได้แข็งตัวอย่างสม่ำเสมอและ ทั่วถึง การบรรจุหีบห่อและการเก็บเห็ดแช่แข็ง  บรรจุในถุงพลาสติกตามปริมาณที่ต้องการ เช่น ถุงละ 0.5 , 1.2 หรือ 5 กิโลกรัม แล้วทำการ ปิดปากถุงให้สนิท โดยอาจใช้การบรรจุด้วยเครื่องสุญญากาศ  เอาเห็ดที่บรรจุในถุงไปเก็บไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ - 18 ถึง - 20 องศาเซลเซียส วิธีนี้สามารถ เก็บเห็ดไว้ในสภาพนี้ได้นานประมาณ 6 - 12 เดือน หรือสามารถเก็บไว้ในช่องแช่แข็งตู้เย็น สามารถเก็บได้ประมาณ 1 เดือน  การขนส่งไปยังตลาดต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นทางเครื่องบิน หรือทางเรือจะต้องขนส่งทาง คอนเทนเนอร์ชนิดตู้เย็น (Refrigerater Container) การผลิตเห็ดแห้ง เห็ดเป็นผลิตภัณฑ์อีกรูปแบบหนึ่งในการถนอมเห็ดให้เก็บไว้รับประทานนานๆได้ วิธีการทำแห้งเป็น การนำเอาน้ำออกจากดอกเห็ด เพื่อหยุดกิจกรรมต่างๆ ของเซลเห็ดรวมทั้งจุลินทรีย์ต่างๆ ที่อยู่ทั้งใน และรอบๆ ดอกเห็ด วิธีการทำเห็ดแห้งนั้นสามารถทำได้ด้วยกรรมวิธีต่างๆ หลายวิธี เช่น – แบบอาศัยพลังงานธรรมชาติ(Natural) เช่น ตากแดด เตาอบแสงอาทิตย์ (Solar) เป็นต้น – แบบอาศัยเครื่องมือ (Artificial) เช่น ใช้เตาอบ (Convection) ทำให้แห้งด้วยการดึง น้ำออกด้วยความดันที่ต่ำ(Freeze drying) การผลิตเห็ดแห้งโดย การตากด้วยแดด 1) ทำการลวกหรือนึ่งเพื่อทำลายจุลินทรีย์แล้วแช่น้ำเย็นธรรมดาให้เย็น หรือประมาณ 30 นาที 2) เรียงดอกเห็ดลงในตะแกรงที่สะอาด แล้วยกตะแกรงไปตากแดดบนราวที่สูงประมาณ 80 เซนติเมตร 3) เมื่อแดดจัด ควรทำการกลับดอกเห็ด และควรจะกลับทุก 2 - 3 ชั่วโมง 34 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4) ดอกเห็ดเริ่มหมาดแล้ว สามารถเทรวมกันตากได้ ตากต่อไปอีกประมาณ 3 – 6 วัน ก็จะได้ ดอกเห็ดแห้งตามต้องการ การตากแห้งด้วยเตาอบแสงอาทิตย์ 1) ทำการลวกหรือนึ่งเพื่อทำลายจุลินทรีย์แล้วแช่น้ำเย็น 30 นาที 2) เรียงคว่ำลงบนตะแกรงแล้วนำเข้าเตาอบแสงอาทิตย์ระวังอย่าให้ความร้อนสูงเกินไปเพราะ จะทำให้ดอกเห็ดแห้งเฉพาะผิวนอก (Case Hardening) วิธีการทำไม่ให้อุณหภูมิสูงเกินไป คือ ทำการเปิดช่องอากาศให้หมด ให้มีลมผ่านอย่างรวดเร็ว อุณหภูมิที่เหมาะสม คือ อุณหภูมิภายในเตาอบสูงกว่าอุณหภูมิในบรรยากาศไม่เกิน 5 องศาเซลเซียส 3) เมื่อทำการตากไปได้2 - 3 ชั่วโมงแล้วควรกลับดอกเห็ด และกลับเช่นนี้ไปตลอดทุก 2 - 3 ชั่วโมง พอดอกเห็ดเริ่มแห้ง หรือใช้เวลาตากประมาณ 6 - 8 ชั่วโมงแล้ว ให้รวมเอาดอกเห็ด ตะแกรงต่างๆ ไว้ด้วยกันเพื่อประหยัดพื้นที่ 4) ค่อยๆ ปิดท่ออากาศ จะเป็นท่ออากาศออกหรือเข้าก็ได้ เพื่อลดความเร็วของลม และทำให้ อุณหภูมิภายในค่อยๆ สูงขึ้นแต่ไม่ควรให้เกิน 45 องศาเซลเซียสรักษาอุณหภูมิระดับนี้ไว้ เรื่อยๆ จนดอกเห็ดแห้ง ประมาณ 16 - 18 ชั่วโมงจากเริ่มตากแดด 5) เมื่อเห็นว่าดอกเห็ดแห้งแล้ว ให้ปิดท่อระบายอากาศทั้งหมด เพื่อให้อุณหภูมิภายในตู้อบ สูงขึ้นเกินกว่า 50 องศาเซลเซียส ปิดไว้นาน 1 - 2 ชั่วโมง ดอกเห็ดก็จะแห้งสนิท แล้วทำ การเก็บในขณะที่มีแดดจัด การทำเห็ดแห้งด้วยเครื่องอบ 1) หลังจากคัดเลือกดอกเห็ด และทำการลวกน้ำร้อน 3 - 5 นาทีแล้ว แช่น้ำเย็น 30 นาที นำ ขึ้นมาเรียงในตะแกรง 2) ทำการเผาท่อให้ร้อน หรือทำอากาศในห้องอบให้สูงกว่าอุณหภูมิห้องธรรมดา 2 - 3 องศา เซลเซียสแล้วเปิดปล่องระบายอากาศให้หมด เพื่อให้อากาศพัดผ่านให้เร็วที่สุด 3) กลับดอกเห็ดในตะแกรงทุกๆ 2 - 3 ชั่วโมง เมื่อดอกเห็ดแห้งแล้วให้เทดอกเห็ด 2 - 3 ตะแกรงรวมกันเป็นตะแกรงเดียว ส่วนที่ยังไม่แห้งก็ย้ายตะแกรงให้ต่ำลง เพราะชั้นล่างจะมี อุณหภูมิสูงกว่าชั้นบน ส่วนชั้นบนที่วางลงให้เอาเห็ดที่ทำการลวก และแช่น้ำแล้ว (Blanching) เรียงใส่ตะแกรงแล้วเข้าอบได้อีก 35 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4) ประมาณ 6-8 ชั่วโมง ดอกเห็ดจะเริ่มแห้งบ้าง ให้ทำการเพิ่มอุณหภูมิขึ้นเรื่อยๆ โดยทำการ เพิ่มไฟและปิดช่องระบายอากาศ แล้วรักษาอุณหภูมิในห้องอบให้อยู่ในระดับ 42 - 45 องศา เซลเซียส จนกระทั่งดอกเห็ดแห้ง 5) หลังจากดอกเห็ดแห้งแล้ว ให้เพิ่มอุณหภูมิในเตาอบขึ้นทันทีให้ได้ 53 - 56 องศาเซลเซียส อบไว้อีก 1-2 ชั่วโมง การบรรจุเห็ดแห้ง  วิธีการเก็บที่นิยมและง่ายที่สุด คือบรรจุใส่ถุงพลาสติก เป็นถุงพลาสติกใสทนร้อนขนาด 0.08 - 0.12 มิลลิเมตร ขนาดใหญ่-เล็กตามต้องการ  เมื่อทำการบรรจุเห็ดแห้งเข้าไปแล้วให้ปิดปากถุงให้แน่น เก็บไว้ในที่เย็นและแห้ง หาก สามารถใส่สารดูดความชื้น เช่น แคลเซี่ยมคลอไรด์ (Calcium Choride) ไปด้วยจะดียิ่งขึ้น การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด เห็ดเป็นผลผลิตที่สามารถนำมาประกอบอาหารหรือนำมาทำประโยชน์ได้หลายอย่างไม่ว่า จะเป็น การนำมาทำอาหารโดยตรงหรือนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่น หรือนำมาสกัดเป็น อาหารเสริมหรือทำเป็นยา แต่วิธีที่ส่วนใหญ่ที่นิยมกันจะเป็นการนำมาทำอาหารหรือแปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์อย่างอื่น เช่นการทำข้าวเกรียบเห็ด เห็ดแช่น้ำปลา หรือแหนมเห็ด เห็ดแช่น้ำปลา 1) นำเห็ดที่แช่เก็บในตู้เย็น 1 คืนนำมาลวกในน้ำเดือด 2) ผสมน้ำปลา น้ำตาลทรายในปริมาตรที่เท่ากัน ต้มจนละลาย 3) เทส่วนผสมลงในโหลที่เตรียมเห็ดไว้ 4) แช่ไว้ให้ได้รสชาติตามต้องการ 5) นำเห็ดที่ได้มารับประทานหรือประกอบอาหารตามความชอบ 36 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ข้าวเกรียบเห็ด เครื่องปรุง แป้งมัน 2 ถ้วยตวง เห็ด 2 ขีด งาป่น 1 ช้อนโต๊ะ พริกไทย เกลือ น้ำ1 ถ้วยตวง น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ 1) นำเห็ดมาฉีกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำเครื่องปรุงที่เหลือทั้งหมดผสมเข้าด้วยกันนำมาใส่เครื่อง ปั่นอาหารแล้วปั่นให้ละเอียด 2) ใช้อุปกรณ์แบบทำข้าวเกรียบปากหม้อ ตั้งน้ำให้เดือด แล้วนำของเหลวที่ปั่นละเอียดมา ละเลงบนผ้าขนาดใหญ่เล็กตามต้องการปิดฝาพอสุกก็แซะใส่ตระแกรงนำไปตากแดดให้แห้ง 3) เมื่อแห้งแล้วก็นำมาทอดให้เหลือง แหนมเห็ด วัสดุอุปกรณ์-เครื่องปรุง 1) กระเทียมโขลกละเอียด 2) เนื้อหมูสับ 3) เกลือ 4) ข้าวเหนียวนึ่ง 5) เห็ดนางรมนึ่ง 6) ถุงพลาสติก 7) หนังยาง 8) ใบตอง วิธีการทำ นำเนื้อหมูสับใส่ลงไปในชามใส่กระเทียมโขลกละเอียดลงไป ใส่ข้าวเหนียวนึ่งตามลงไปจากนั้นใส่เห็ดนางรมนึ่งลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน ได้ที่แล้วนำมาบรรจุใส่ถุงพลาสติกรีดลมออกจากถุงให้หมด รัดด้วยหนังยางเสร็จแล้วพักไว้ประมาณ 2 วัน ก็รับประทานได้ 37 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การเพาะเห็ดสกุลนางรมให้เกิดรายได้ การสร้างโรงเรือนเพาะเห็ด วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ จะเน้นใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น เพื่อความประหยัด และใช้วัสดุในท้องถิ่นให้ เกิดประโยชน์ จะสร้าง ด้วยไม้ มุงหลังคาด้วยใบจาก หรือ มุงหลังคาด้วยสังกะสี การสร้างโรงเรือนเพาะเห็ด -โรงเรือนต้องเก็บกักความชื้นได้ หากไม่แน่ใจเรื่องความชื้นให้ใช้ผ้าพลาสติกกรุทับภายในอีก ชั้นบริเวณผนัง - การทำชั้นวางหรือแผงไม่กำหนดสูตรตายตัว เพียงแค่ให้สามารถวางก้อนเชื้ อได้มากที่สุด และสะดวกต่อการทำงาน - พื้นโรงเรือนควรเป็นคอนกรีตหรือทราย เพื่อป้องกันการแฉะภายหลัง - ไม่ว่าโรงเรือนจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ฝา หลังคาสามารถมุงด้วยจากหรือหญ้าคาได้ โรงเรือนเพาะเห็ดจะมีอยู่2 ชนิด 1. โรงบ่มก้อนเห็ด 2. โรงเปิดดอก โรงเรือนที่ทำเป็นโรงบ่มก้อนเห็ด เมื่อสร้างโรงเรือนเสร็จใหม่ๆ จะใช้เพื่อเป็นโรงบ่มก้อนเห็ด ก่อน เมื่อใช้บ่มก้อนไปได้สักระยะหนึ่ง จะเปลี่ยนทำเป็นโรงเปิดดอก โรงบ่มและโรงเปิดดอก ที่ดีจะต้องเป็นโรงเรือนที่สะอาด การใช้โรงบ่มก้อนเป็นโรงเปิดดอกอาจจะทำให้มีเชื้อโรค ของก้อนเห็ดเดิมได้ เพื่อป้องกันเชื้อโรค โรงบ่มก้อนเห็ดจึงไม่ควรผ่านการทำเป็นโรงเปิด ดอกเห็ดมาก่อน และเช่นเดียวกันโรงเรือนที่เคยผ่านการใช้เป็นโรงเปิดดอกมาแล้วก็ ไม่ควร ทำเป็นโรงบ่มก้อนเห็ดที่เคยสร้างเป็นโรงเปิดดอกและ ควรมีการพักโรงเรือนที่ใช้เปิดดอก เห็ดไม่ให้มีการสะสมเชื้อโรค และแมลงศัตรูเห็ด ขนาดของโรงเรือนเปิดดอกเห็ด - ขนาดเล็ก : 3x5 เมตร จุก้อนเชื้อเห็ดได้ประมาณ 2,000 ก้อน - ขนาดกลาง: 6x12 เมตร จุก้อนเชื้อเห็ดได้ประมาณ 3,000 ก้อน - ขนาดใหญ่: 20x30 เมตร จุก้อนเชื้อเห็ดได้ประมาณ 40,000 ก้อน หากไม่ต้องการที่จะเพาะเห็ดเพื่อเป็นอาชีพ หรือเสริมรายได้ เราสามารถที่จะเพาะไว้เพื่อเป็นอาหาร ภายในบ้านก็ได้ โดยการที่อาจหาพื้นที่เพียงแค่เล็กน้อยแต่ต้องเป็นที่ไม่โดนแสงนำก้อนเชื้อเห็ดมา วางเรียงในตะกร้า ส่วนแผงวางก้อนเห็ด ด้านข้างทั้งสองข้างจะวางเฉียงประมาณ 45 องศา ตรงกลางวางแผงให้เป็นรูปตัว A ขาทั้ง สองข้างห่างกันประมาณ 30- 40เซนติเมตรช่องว่างระหว่างทางเดิน เว้นให้สามารถเดินเข้าออกไป เก็บดอกเห็ดได้สะดวก จะใช้วัสดุที่ทำด้วยเหล็ก แต่จะทำให้มีต้นทุนในการก่อสร้างที่สูงกว่าการสร้าง 38 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้วยไม้ไผ่ แต่การสร้างด้วยไม้ไผ่อาจจะไม่แข็งแรง ทนทานเ ท่ากับการสร้างด้วยเหล็ก เพราะการ เพาะเห็ดต้องมีการรดน้ำเห็ดทุกวัน การใช้ไม้ไผ่ จะมีการผุกร่อนได้ง่าย การเลือกใช้วัสดุก็ขึ้นอยู่กับ ความต้องการ ปัจจัยด้านเงินลงทุน และวัสดุที่มีในท้องถิ่น ลักษณะการจัดวางก้อนเห็ด โรงเห็ดหนึ่งหลัง จะใส่ก้อนเห็ดได้ประมาณ 4,000 ก้อน จะวางก้อนเห็ดในแนวนอน เพื่อให้ เชื้อเห็ดเดินได้ดี และเป็นการประหยัดพื้นที่ ทิศทางลม และ การคลุมหลังคา 1.ทิศทางลม ก็มีส่วนสำคัญในการโรงเพาะเห็ด ต้องดูทิศทางของลมเหนือลมใต้ เพื่อป้องกันการ พัดพาเชื้อโรค ที่จะมีผลต่อก้อนเห็ด และการออกดอกของเห็ด 2. การคลุมหลังคา ขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ดด้วย เพื่อป้องกันลม ลมแรง ลมค่อย ลมหนาว ลมแห้ง แล้ง สภาพลม สภาพอากาศ มีผลกระทบต่อการออกดอกของเห็ดได้เช่นเดียวกัน การจัดการโรงเรือนที่ก้อนเห็ดหมดรุ่นแล้ว - ควรฉีดยาฆ่าแมลงให้ทั่ว เอาปูนขาวโรยที่ชั้นวางในทั่ว เพื่อป้องกันแมลงแล ะเชื้อโรค ที่ อาจจะอันตรายกับก้อนเห็ดชุดใหม่ได้ - พักโรงเรือนไว้ 5-15 วัน ก่อนที่จะนำก้อนเห็ดรุ่นใหม่เข้าไปวางในโรงเรือน ต้นทุนและผลตอบแทน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับ โครงการหลวง ริเริ่ม โครงการวิจัยการเพาะเห็ดในเขตหนาว มาตั้ง แต่ปี2526ในพื้นที่ สถานีวิจัยดอยปุย ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำผลการวิจัยไปส่งเสริมให้ชาวไทย ภูเขา ปลูกเห็ดจำหน่ายเป็นอาชีพทดแทนการ ปลูกฝิ่น - เห็ดนางรมหลวง จะให้ผลผลิต 100 - 150 กรัมต่อถุง จำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 120 บาท โดยมีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 80 บาท ต้นทุนครึ่งหนึ่งเป็นค่าไฟฟ้าจากการใช้ เครื่องปรับอากาศ แหล่งจำหน่ายเห็ดนางรม กลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้า สถานที่จำหน่าย กลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้าหมู่ 4 บ้านสันต้นดู่ ต.สันมะเค็ด อ.พาน จ.เชียงราย ติดต่อ : นายบรรลือศักดิ์ ด้วงแดง โทร : (053) 721969 (พัฒนาชุมชน) กลุ่มเกษตรกรเพาะเห็ดตำบลวังหงส์ สถานที่จำหน่าย กลุ่มเกษตรกรเพาะเห็ดตำบลวังหงษ์ ที่อยู่ หมู่ที่ 1-4 ตำบลวังหงษ์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โทรศัพท์054-644330 Email : cdphrae@hotmail.com 39 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มสตรีแม่บ้าน บ้านแพะริมน้ำ สถานที่จำหน่าย กลุ่มสตรีแม่บ้าน บ้านแพะริมน้ำ หมู่ที่11 บ้านทากาศ ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน 51170 ติดต่อ : นางมณี เป็งกาศ โทร : 053-574064 กลุ่มเพาะเห็ดบ้านนาคตแพะ สถานที่จำหน่าย กลุ่มเพาะเห็ดบ้านนาคตแพะ 60 ม.4 บ้านนาคตแพะ ต.ป่าตัน อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ติดต่อ : นายวิชิต แซ่ตั้ง โทร :054-331951 ราคาเห็ดนางรมแต่ละชนิด ชนิดเห็ด ราคาเห็ดต่อกิโลกรัม (บาท) ขายส่ง ขายปลีก 1. นางรมดอย 2. นางรมทอง 3. นางรมหลวง 300 300-400 4. นางรมขาว 5. นางฟ้า 6. นางรมเทา 7. นางฟ้าภูฐาน 8. นางรมฮังการี 30-35 40-50 9. เป๋าฮื้อ 70-80 80-100 ที่มา: 1. ศูนย์วิจัยเห็ดเขตหนาว (ดอยปุย) 2. โครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงายในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ 40 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาตรฐานเห็ดนางรม 1. นิยามของการผลผลิต มาตรฐานนี้ใช้กับเห็ดนางรม (oyster mushroom) Pleurotus ostreatus ลักษณะประจำพันธุ์ ของดอกเห็ดนางรมเกิดเป็นกลุ่มจำนวนกลุ่มละ 4-6 ดอก มีสีขาวหรือ สีตามพันธุ์นั้น ดอกค่อนข้างใหญ่ เนื้อดอกแน่น น้ำหนักดี 2. บทนิยาม ความหมายของคำที่ใช้มาตรฐาน มีดังนี้ ดอกเห็ดเสีย หมายถึง เห็ดเน่าและมีกลิ่นเหม็น มีร่องรอยแทะทำลายหรือรอยฉีกขาด ดอกบาน หมายถึง หมวกดอกบานมากจนขอบของหมวกม้วนขึ้น ลักษณะเช่นนี้แสดงว่า ดอกเห็ดแก่เกินไป ลักษณะประจำพันธุ์ หมายถึง รูปร่าง สี ขนาด กลิ่น ที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของพันธุ์ 3. ข้อกำหนดเรื่องคุณภาพ 3.1 เห็ดนางรมทุกชั้นมาตรฐานต้องมีคุณภาพดังต่อไปนี้ - เป็นเห็ดนางรมทั้งดอก - ดอกเห็ดมีความสด - สะอาดและปราศจากสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นได้ - ไม่มีศัตรูเห็ดที่มีผลกระทบต่อรูปลักษณ์ทั่วไปของดอกเห็ดนางรม - ไม่มีรอยช้ำ เน่าเสียที่ทำให้ไม่เหมาะสมกับการบริโภค - ไม่มีความเสียหายที่เกิดจากการทำลายของศัตรูเห็ด - ปราศจากสิ่งแปลกปลอม 3.2 เห็ดนางรมต้องตรงตามสายพันธุ์ และดอกเห็ดอยู่ในสภาพที่ยอมรับได้เมื่อถึงปลายทาง (ผู้บริโภค) 3.3 การแบ่งชั้นคุณภาพ เห็ดนางรมแบ่งได้เป็น 3 ชั้นคุณภาพดังนี้ 1. ชั้นพิเศษ เห็ดนางรมในชั้นนี้มีคุณภาพดีที่สุดทั้งลักษณะรูปร่างทรงดอก สี ปราศจากตำหนิที่มองเห็นได้ชัด 2. ชั้นที่หนึ่ง เห็ดนางรมในชั้นนี้มีคุณภาพดี ลักษณะตรงตามพันธุ์ดอกมีตำหนิได้ เล็กน้อย ไม่เกินร้อยละ 5 ในด้านรูปร่าง สี และผิวของดอกเห็ด 3. ชั้นที่สอง เห็ดนางรมในชั้นนี้มีคุณภาพต่ำกว่าชั้นที่หนึ่ง แต่มีคุณภาพขั้นต่ำตาม ข้อ 3.1 มีตำหนิได้ไม่เกิน ร้อยละ 10 ในด้านรูปทรง สี และผิวของดอก 41 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4.ข้อกำหนดเรื่องขนาด ขนาดของดอกเห็ด พิจารณาจากเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกเป็นหลัก ซึ่งกำหนดขนาดของ เห็ดนางรมไว้ดังนี้ ขนาดเล็ก มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดดอกต่ำกว่า 3.6 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดดอกระหว่าง 3.6-7.0 เซนติเมตร 5. ข้อกำหนดเรื่องเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนเรื่องคุณภาพและขนาดที่ยอมรับได้ มีดังนี้ 5.1 เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนเรื่องคุณภาพ ชั้นพิเศษ ไม่เกินร้อยละ 5 ของจำนวนผลผลิต หรือน้ำหนักรวมทั้งหมด ชั้นหนึ่ง ไม่เกินร้อยละ10 ของจำนวนผลผลิตหรือน้ำหนักรวมทั้งหมด ที่คุณภาพไม่ เป็นไปตามขั้นกำหนดของชั้นที่หนึ่ง ชั้นที่สอง ไม่เกินร้อยละ10 ของจำนวนผลผลิตหรือน้ำหนักรวมทั้งหมดที่เป็นไป ตามข้อกำหนดของชั้นที่สอง 5.2 เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของขนาด เห็ดนางรมทุกชนิดมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน ร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก 6. ข้อกำหนดเรื่องการบรรจุและการจัดเรียงเสนอ 6.1ความสม่ำเสมอ เห็ดที่บรรจุในแต่ละภาชนะต้องมาจากแหล่งเดียวมีความสม่ำเสมอใน เรื่องพันธุ์ คุณภาพ ขนาด สี 6.2การบรรจุหีบห่อ บรรจุเห็ดนางรมในภาชนะที่สามารถเก็บรักษาได้ดี วัสดุที่ใช้ภายใน ภาชนะบรรจุต้องสะอาดและมีคุณภาพป้องกันความเสียหายได้ รายละเอียดของบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ต้องมีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะถ่ายเทอากาศได้ และมีคุณสมบัติทนทานต่อการขนส่ง และรักษาดอกเห็ดได้ บร รจุภัณฑ์ต้องปราศจากสิ่ง แปลกปลอมและกลิ่น 7.การแสดงเครื่องหมายและฉลาก 7.1 บรรจุภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค มีข้อความแสดงรายละเอียดที่ถูกต้องให้เห็นง่ายชัดเจน ไม่เป็นเท็จหรือหลอกลวง ดังต่อไปนี้ 1. ประเภทของผลผลิต ข้อความว่า “เห็ดนางรม” ต้องสามารถเห็นได้ชัดเจน 2. ชั้นคุณภาพต้องระบุว่าเป็นชั้นพิเศษ ชั้นที่หนึ่งหรือชั้นที่สอง 3. ขนาดต้องระบุว่าเป็นขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ 4. น้ำหนักสุทธิเป็นระบบเมตริก (กรัมหรือกิโลกรัม) 5. วัน/เดือน/ปี ที่บรรจุ ต้องใส่ให้ชัดเจน 6. ข้อมูลของผู้จำหน่าย 42 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุชื่อและที่อยู่ของผู้จำหน่ายหรือการแบ่งบรรจุหรือราชการแสดงเ ครื่องหมาย การค้าที่จดทะเบียน ประเทศผู้ผลิต (กรณีส่งออก) 7.2 บรรจุภัณฑ์สำหรับขายส่ง แต่ละหีบห่อประกอบด้วยข้อความซึ่งระบุในเอกสารกำกับสินค้าหรือฉลาก หรืออาจ แสดงไว้ที่ภาชนะบรรจุก็ได้ ข้อความต้องอ่านได้ชัดเจน ไม่หลุดลอก โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1. ข้อมูลผู้ขายส่ง ระบุชื่อและที่ตั้งของผู้ขายส่ง ผู้บรรจุ และหมายเลขรหัสสินค้า (ถ้ามี) 2. ประเภทของผลผลิต ระบุข้อความว่า “เห็ดนางรม” เห็นได้ชัดเจน 3. ข้อมูลแหล่งผลิต ประเทศที่ผลิตและหรือแหล่งผลิตในประเทศ 4. ข้อมูลเชิงพาณิชย์ - ชั้นคุณภาพ - ขนาด - น้ำหนักสุทธิเป็นระบบเมตริก - วัน/เดือน/ปี ที่บรรจุต้องใส่ให้ชัดเจน 7.3 ภาษา ฉลากของเห็ดนางรมต้องมีข้อความเป็นภาษาไทย กรณีฉลากเห็ดที่ผลิตเพื่อ ส่งออก เป็นภาษาใดก็ได้ขึ้นอยู่กับประเทศคู่ค้า 7.4 รายงานผลการตรวจ ให้มีการรับรองผลการตรวจ หรือมีเครื่องหมายรับรอง เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของหน่วยตรวจ หรือหน่วยงา นที่ได้รับการ ยอมรับจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 8. สารปนเปื้อน ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และข้อกำหนดของมาตรฐานสินค้าเกษตรและ อาหารแห่งชาติเรื่องสารปนเปื้อน 9. สารตกค้าง ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และข้อกำหนดของมาตรฐานสินค้าเกษตร และ อาหารแห่งชาติเรื่องสารปนเปื้อน 10. สุขลักษณะ การเก็บเกี่ยว การปฏิบัติต่อการเพาะเห็ดนางรมในขั้นตอนต่างๆ รวมถึงการเก็บรักษาและการ ขนส่งต้องปฏิบัติอย่างถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค 43 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การปฏิบัติการทางการเกษตรดีที่เหมาะสมในการเพาะเห็ด GAP(Good Agricultural Practice) หรือในทางภาษาไทยเรียกว่า “การปฏิบัติการทาง การเกษตรดีที่เหมาะสม”เป็นแนวทางการปฏิบัติในไร่นา เพื่อผลิตสินค้าปลอดภัย ปลอดศัตรูพืช และคุณภาพถูกใจผู้บริโภค เน้นวิธีการวบคุมและป้องกันการเกิดปัญหาในกระบวนการผลิต วัตถุประสงค์ของการทำGAP 1. ให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัย ปลอดศัตรูพืช และมีคุณภาพเป็นที่พอใจของผู้บริโภค 2. ให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และสภาพแวดล้อม 3. มีการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ความสำคัญของGAPเห็ด จากเงื่อนไขการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงกระแสการให้ความ ใส่ใจต่อความปลอดภัยต่อ ผู้ผลิต ผู้บริโภค และสภาพแวดล้อม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัย ปลอดศัตรูพืชและมีคุณภาพเป็น ที่พอใจของผู้บริโภคซึ่งจะนำไปสู่ราคาผลผลิตที่มีเสถียรภาพ ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย มีกรมวิชาการเกษตรร่วมกับ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแ ห่งชาติ จึงได้จัดทำ มาตรฐานเห็ดและแนวทางการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สำหรับเห็ดขึ้นมา ผลดีของการทำGAP 1. ยกมาตรฐานพืชของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล 2. ตอบสนองข้อกำหนดในการค้าระหว่างประเทศ 3. เพิ่มอำนาจการต่องรองราคาสินค้า 4. เกิดระบบการตรวจสอบรับรองที่ได้รับคว ามเชื่อถือ สร้างความเชื่อมั่น 5. สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคโดยตรง และผู้ใช้วัตถุดิบเพื่ออุตสาหกรรม 6. ราคาผลผลิตคุณภาพที่มีเสถียรภาพ สมาชิกGAPต้องทำอย่างไรบ้าง ผลิตพืชตามมาตรฐานระบบจัดการคุณภาพตามข้อกำหนด 11ข้อ คือ 1. ข้อกำหนดด้านเห็ดเชื้อ 2. ข้อกำหนดด้านพื้นที่/โรงเรือน/วัสดุอุปกรณ์ 3. ข้อกำหนดด้านวัสดุอุปกรณ์ 4. ข้อกำหนดด้านวัสดุเพาะ 5. ข้อกำหนดด้านแหล่งน้ำ 6. ข้อกำหนดด้านการใช้วัสดุอันตรายทางการเกษตร 44 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 7. ข้อกำหนดด้านกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว และการตรวจสอบการฆ่าเชื้อ (การดูแลรักษา) 8. ข้อกำหนดด้านการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว 9. ข้อกำหนดด้านการพักผลิตผล การขนย้ายในบริเวณที่ปลูก การรักษาและรวบรวมผลิตผล 10. ข้อกำหนดด้านสุขลักษณะส่วนบุคคล 11. ข้อกำหนดด้านการบันทึกข้อมูล การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี(GAP) สำหรับการผลิตเห็ด แนวทางการกำหนดGAP ในการผลิตเห็ด 1. เชื้อเห็ด - เลือกใช้เห็ดจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และตรวจสอบกลับได้ ไม่มีปัญหาการปนเปื้อน ของเชื้อโรค แมลง ไร ศัตรูเห็ด - ตรวจดูลักษณะการเจริญของเชื้อเห็ด 1. เส้นใยเจริญจากจุดเริ่มต้นแผ่เป็นรัศมีอย่างสม่ำเสมอ 2. สีและลักษณะของเส้นใยเห็ดตรงตามพันธุ์หรือชนิดเห็ด ไม่มีการ ปนเปื้อนของศัตรูเห็ด - มีสถานที่พักเก็บเชื้อเห็ดที่สะอาด มีการดูแลกรักษาความสะอาดและป้องกันเชื้อโรค แมลง และไร ศัตรูเห็ด ไม่ให้เข้าทำลายเชื้อเห็ด - ตรวจดูความบริสุทธิ์ของเชื้อเห็ดก่อนจะนำไปใช้ทุกครั้ง 2. พื้นที่/โรงเรือน/วัสดุอุปกรณ์ - บริเวณพื้นที่การผลิตเห็ดอยู่ห่างจากแหล่งทิ้งข ยะ โรงงานผลิตสารเคมี หรือวัตถุ อันตราย คอกปศุสัตว์ หรือพื้นที่ปลูกพืชที่ใช้สารเคมี - จัดแบ่งพื้นที่การทำงานแต่ละชั้นตอนการผลิต สถานที่เก็บวัสดุอุปกรณ์เพาะเห็ดที่ สะอาด เป็นสัดส่วน และมีระบบการดูแลรักษาความสะอาด การป้องกันการ ปนเปื้อนหรือการเข้าทำลายของศัตรูเห็ด - พื้นภายในโรงเรือนเปิดดอกควรเป็นพื้นทราย พื้นกรวดอัดแน่น พื้นอิฐหรือพื้นปูน เพื่อสามารถทำความสะอาดและป้องกันกำจัดศัตรูเห็ด - โรงเรือนเปิดดอกมีฝาผนังและหลังคาที่สามารถรักษาความชื้น อุณหภูมิ และมี ช่องเปิด-ปิดสำหรับถ่ายเทอากาศที่เหมาะสมกับชนิดเห็ด - ทำความสะอาดและป้องกันกำจัดศัตรูเห็ดในโรงเรือนเปิดดอกเห็ดทุกครั้ง หลังจาก ก้อนเชื้อเห็ดที่หมดอายุการให้ผลผลิตออกจากโรงเรือนแล้ว - มีตารางกำหนดเวลาทำความสะอาดโรงเรือน บริเวณพื้นที่ทำงาน และวัสดุ อุปกรณ์ 45 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3. วัสดุอุปกรณ์ - มีการทำความสะอาดและตรวจเช็คอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เห็ดทุกครั้งหลังการใช้ งาน 4. วัสดุเพาะ - วัสดุและอาหารเสริมที่ใช่เพาะเห็ด ไม่มีการปนเปื้อนของสารเคมี หรือสารพิษ 5. แหล่งน้ำ - ใช้น้ำสะอาดจากแหล่งน้ำที่ปราศจากการปนเปื้อนของารเคมี สารพิษหรือ เชื้อจุลินทรีย์ - ตรวจสอบความเป็นกรดเป็นด่าง(pH)ของน้ำที่ใช้ ควรอยู่ระหว่าง 5-8 6. การใช้วัสดุอันตรายทางการเกษตร - ระมัดระวังการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูเห็ด ในสถานที่ทำงาน โรงเรือน และโรงเก็บวัสดุ อุปกรณ์ ด้วยชนิดอัตราการใช้ และระยะเวลาที่เหมาะสมกับความจำเป็น ไม่ ก่อให้เกิดผลเสียหายหรือสารพิษตกค้างในเส้นใยดอกเห็ดและวัสดุเพาะเห็ด - ไม่ใช้สารเคมีทุกชนิด ภายในโรงเรือน ที่กำลังเปิดก้อนเชื้อเห็ด ในระยะที่ดอกเห็ด กำลังเจริญเติบโต หรือในระยะที่ก้อนเชื้อเห็ดยังคงให้ผลผลิต 7. กระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว และการตรวจสอบการฆ่าเชื้อ (การดูแลรักษา) - ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต เช่น ปรับและรักษาสภาพ ความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิ และการถ่ายเทอากาศภายในโรงเรือนเปิดดอกให้เหมาะสมต่อการเจริญ ของดอกเห็ด - การป้องกันกำจัดศัตรูเห็ด 1. การป้องกันแมลง โดยการแขวนพลาสติกเหลืองทากาวเหนียวกับดัก แมลงไว้บริเวณประตู และภายในโรงเรือน 2. การป้องกันโรค ไม่ใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตรายภายในโรง เรือนเปิดดอก หากพบเชื้อโรคปนเปื้อนให้นำออกไปทำลายภายนอกโรงเรือนทันที - ไม่รดน้ำหรือพ่นน้ำให้ความชื้นในโรงเรือนก่อนเก็บดอกเห็ด และไม่ให้เห็ดที่เก็บ เกี่ยวแล้วเปียกน้ำ เพราะจะทำให้ดอกเห็ดเน่าเสียง่าย 8. การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว - อุปกรณ์และภาชนะที่ใช้ ภาชนะเก็บเห็ดมีขนาดเหมาะสม สะอาด และเป็นวัสดุที่ แข็งแรง สะดวกต่อการเก็บและเคลื่อนย้ายเห็ด สามารถรักษาคุณภาพของเห็ดที่ เก็บมาแล้ว 46 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - วิธีการเก็บเกี่ยว เก็บเป็นดอกหรือกลุ่มดอกเห็ดทั้งหมด ไม่ให้เหลือเศษดอกหรือ ก้านดอกเห็ดติดอยู่กับก้อนเชื้อ - วิธีการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว 1. เก็บกวาดทำความสะอาดพื้นโรงเรือนหลังการเก็บดอกเห็ดทุกครั้ง 2. ตัดแต่งดอกเห็ดให้สะอาดเรียบร้อยปราศจากสิ่งปนเปื้อนและได้ขนาดและคุณภาพตามที่ตลาด ต้องการ โดยทำในบริเวณที่สะอาด และมีร่มเงาบังแสงแดด 3. คัดแยกชั้นและคุณภาพของดอกเห็ด แยกบรรจุภาชนะ ใ นกรณีบรรจุภาชนะเพื่อวางจำหน่ายใน ซุปเปอร์มาร์เก็ต ให้ติดฉลากบอกชนิดเห็ด ผู้ผลิต สถานที่ผลิต จำนวนหรือน้ำหนักเห็ด วัน/เดือน/ปี ที่เก็บเห็ด 4. เก็บเศษเหลือของเห็ดจาการตัดแต่งไปทิ้งในบริเวณที่ห่างจากฟาร์มหรือโรงเรือนเพาะเห็ดไม่น้อง กว่า 100 เมตร เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรค แมลง และศัตรูเห็ด หรือนำเศษเหลือไปทำปุ๋ยปลูก พืช 5. ทำความสะอาดภาชนะเก็บเห็ด อุปกรณ์การเก็บการตัดแต่ง การคัดแยกชั้นเห็ด บริเวณที่ทำงาน เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่เกิดจากศัตรูเห็ดในอนาคต 6. เก็บก้อนเชื้อที่หมดอายุการให้ดอกเห็ดแล้ว ไปกำจัดทำลายในบริเวณภายนอกที่อยู่ห่างจากฟาร์ม เพาะเห็ดไม่ย้อยกว่า 100 เมตร หรือนำไปทำปุ๋ยปลูกพืช 9. การพักผลผลิต การขนย้ายในบริเวรที่ปลูก การรักษาและการรวบรวมผลผลิต - การขนย้าย การเก็บรักษา และการรวบรวมผลผลิต 9.1 ใช้ภาชนะที่บรรจุสะอาด มีการระบายอากาศได้ มีขนาดที่เหมาะสม ต่อการขนส่ง และสามารถ รักษาเห็ด คุณภาพเห็ดไม่ให้เกิดคามเสียหายในระหว่างการขนส่ง 9.2 บรรจุปริมาณดอกเห็ดที่พอเหมาะกับภาชนะ ไม่ควรอัดแน่นเกินไปจนเกิดความเสียหายต่อ คุณภาพเห็ด 9.3 พักภาชนะที่บรรจุแล้ว ไว้ในบริเวณที่สะอาด ถ่ายเทอากาศได้ดี ไม่ถูกแสงแดด หรือพักเก็บ ใน ตู้เย็นหรือถังเก็บความเย็น ที่อุณหภูมิ 10-15 องศาเซลเซียส เพื่อรักษาอุณหภูมิไม่ให้เห็ดร้อนจน เสียหาย 9.4 พาหนะขนส่งเห็ดควรสะอาด และมีหลังคาช่วยลดความร้อนจากแสงแดดที่จะก่อให้เกิดความ เสียหายต่อดอกเห็ด 9.5 มีการรักษาคุณภาพเห็ด โดยการรักษาอุณหภูมิที่ 10-15 องศาเซลเซียส ความชื้นอยู่ที่ 70-80 เปอร์เซนต์ เพื่อให้เห็ดคงความสด และเก็บได้นานในระหว่างการขนส่ง - การสอบกลับผลผลิตในกรณีบรรจุภาชนะเพื่อวางจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ต ให้ติด ฉลากบอก แหล่งที่มาของผลผลิตเห็ด ประกอบด้วย ชนิดเห็ด ผู้ผลิต สถานที่ผลิต จำนวนหรือ น้ำหนักเห็ด วัน/เดือน/ปี ที่เก็บเห็ด และวัน/เดือน/ปี ที่แสดงถึงการหมดอายุของผลผลิต 47 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตหัวเชื้อและก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ โครงการ “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเครือข่ายวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนภาคเหนือเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น