วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

โรคปลานิล

โรคปลานิล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชนกันต์ จิตมนัส คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ เมื่อเร็ว ๆ นี้ กรมประมงได้จัดให้มีการอบรมเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกรเพื่อเพิ่ม ศักยภาพการผลิตปลานิลของไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก จริง ๆ แล้วเกษตรกรได้เลี้ยงปลา นิลมานานแล้ว มีการส่งเสริมให้เลี้ยงทั้งแบบยั่งชีพและเชิงพาณิชย์ เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โต เร็ว อย่างไรก็ตามอุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งของการเพาะเลี้ยงปลานิล ก็คือ โรคปลานิล โดยระยะ หลังปลานิลเป็นโรคได้ง่ายขึ้น เพราะเกษตรกรนิยมปล่อยหนาแน่นมากและขาดการจัดการที่ดี รวมทั้งสภาวะแวดล้อมที่แย่ลง มีความแปรปรวนสูง การจัดการสุขภาพปลานิลจึงเป็นวิธีการที่ใช้ในเพื่อวางแผนป้องกันไม่ให้ปลาเกิดโรคและ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากหากปลานิลเป็นโรคแล้วโอกาสที่จะรักษาทำได้ยากมากและเป็น การเพิ่มต้นทุนที่สูงขึ้นมากจนทำให้ผู้เลี้ยงไม่สามารถแบกภาระได้ รวมทั้งไม่เป็นที่ยอมรับของ ผู้บริโภค ดังนั้นการที่จะประสบผลสำเร็จในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จะต้องมีการจัดการสุขภาพสัตว์ น้ำที่ดี อันได้แก่ การเตรียมบ่อที่ดี มีการรักษาความสะอาดบ่อ เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ เพื่อลดโอกาส ความเสี่ยงในการเกิดโรคและแพร่ระบาดของโรคสัตว์น้ำ การใช้ลูกพันธุ์ปลาที่แข็งแรง การจัดการ คุณภาพน้ำที่ดี ไม่ใช้ยาและสารเคมีต้องห้าม การให้อาหารที่ดีมีคุณภาพสูง ทำให้สัตว์น้ำโตไว ได้ ผลผลิตสูงคุณภาพดี ไม่มียาปฏิชีวนะตกค้าง สร้างกำไรสูงแก่ผู้เลี้ยงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ภาพที่ 1 การอนุบาลลูกปลานิลก่อนปล่อยลงในบ่อ จะช่วยเพิ่มอัตรารอด การเฝ้าสังเกตพฤติกรรมและการกินอาหารของปลาอย่างสม่ำเสมอ จะมีส่วนช่วยในการ ตรวจสอบเบื้องต้นว่า ปลาเกิดปัญหาหรือไม่ จะช่วยให้มีการแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ก่อนที่ปลาทั้งกลุ่มจะป่วยอย่างรุนแรง เมื่อปลาเกิดโรค สิ่งแรกที่เกษตรกรคิดถึงหรือถามถึงก็คือ 2 ควรใช้ยาหรือสารเคมีตัวไหนดี ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ค่อยถูกต้องนัก เราต้องมีการตรวจวินิจฉัยโรคที่ รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ ว่า โรคดังกล่าวมีสาเหตุมาจากคุณภาพน้ำในบ่อ การเปลี่ยนแปลงของ สิ่งแวดล้อมหรือคุณภาพอาหารหรือไม่ เพื่อหาแนวทางแก้ไขและป้องกันการแพร่ระบาดโรค ภาพที่ 2 ควรสังเกตพฤติกรรมและการกินอาหารของปลาอย่างสม่ำเสมอ ผู้เลี้ยงปลาจะต้องทราบและคุ้นเคยว่า ปลาที่ปกติมีลักษณะของพฤติกรรมเป็นอย่างไร ซึ่ง ส่วนใหญ่เราจะไม่ได้มองเห็นปลาที่อาศัยอยู่ในบ่อ ยกเว้นเวลาให้อาหาร และจะสังเกตเห็นปลาได้ ชัดเมื่อปลาเป็นโรคคือมีปลาตายหรือปลากำลังใกล้ตาย เราจึงต้องระมัดระวังเพื่อตรวจว่าปลาเริ่ม จะป่วยก่อนที่ปลาจะตาย เพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหาได้ทันเวลา ปลาที่ป่วยจะเฉื่อยชาและไม่กินอาหาร อาจมีการแขวนลอยตัวอยู่ที่ผิวน้ำ ขึ้นเกยอยู่ตามขอบบ่อ หรือเอาตีสีข้างบ่อ พฤติกรรมของปลาที่ ผิดปกติเหล่านี้จะเป็นตัวบ่งชี้ว่า ปลาส่ออาการของโรคเกิดขึ้น นอกจากนี้ลักษณะทางกายภาพที่ เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นฝี การตกเลือด ครีบหักกร่อน ท้องบวม ตาโปน หากพบว่า ปลามีลักษณะ ผิดปกติ เราควรนำปลาไปตรวจว่าปลามีการติดเชื้อปรสิตหรือแบคทีเรียหรือไม่ พร้อมทั้งมีการ ตรวจสอบคุณสมบัติของน้ำควบคู่ไปด้วย ภาพที่ 3 หากสังเกตเห็นปลาขึ้นมาลอยหัวในตอนเช้า ควรตรวจสอบปริมาณออกซิเจนในน้ำ 3 ถ้าคุณคิดว่าปลานิลเริ่มป่วย สิ่งแรกที่ต้องกระทำคือการตรวจสอบคุณสมบัติของน้ำ หาก ไม่มีเครื่องมือในการตรวจสอบคุณสมบัติของน้ำให้ติดต่อกับหน่วยงานของกรมประมงหรือ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ในบางพื้นที่นักส่งเสริมการขายจะมีเครื่องมือตรวจสอบคุณสมบัติ ของน้ำขนาดเล็กที่ช่วยให้คำตอบเราได้ว่า คุณสมบัติของน้ำน่าจะมีผลทำให้ปลาป่วยหรือไม่ ผู้เลี้ยงปลาควรตระหนักว่า การลงทุนเพียงเล็กน้อยในการซื้อชุดตรวจสอบคุณสมบัติของน้ำใน ราคาเพียงเล็กน้อยสามารถป้องกันความเสียหายมากมายมหาศาลที่อาจจะเกิดขึ้นกับการตายของ สัตว์น้ำ ภาพที่ 4 จำนวนกระชังปลาและความหนาแน่นของปลาที่ปล่อย ควรมีความสัมพันธ์กับ คุณสมบัติของน้ำ ปัจจุบันปัญหาการตายของปลานิลในบ่อและกระชังบ่อยครั้ง มีสาเหตุมาจากปริมาณ ออกซิเจนที่ละลายน้ำที่ต่ำ โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน ปลาจะเครียดและอ่อนแอ ดังนั้นเราต้องมี เครื่องช่วยเพิ่มออกซิเจนไว้ใช้งานยามฉุกเฉิน ปริมาณแอมโมเนียที่สูงเป็นสาเหตุหนึ่งที่เหนี่ยวนำ ให้เกิดการระบาดของโรคปลาได้ หากเป็นไปได้ควรมีบ่อพักน้ำหรือแหล่งน้ำที่สะอาดเพื่อการ เปลี่ยนถ่ายน้ำ โดยทั่วไปเราจะต้องตรวจสอบปริมาณออกซิเจนในน้ำ แอมโมเนีย ไนไตร์ทและ ความเป็นกรดด่างของน้ำเป็นประจำ เนื่องจากคุณสมบัติของน้ำเหล่านี้มีผลในการตรวจสอบการ ระบาดของโรค การบันทึกคุณสมบัติของน้ำประจำวันจะเป็นตัวอ้างอิงเมื่อมีการระบาดของโรค ในการ บันทึกควรบันทึกวันที่ปล่อยปลา ขนาดของปลาที่ปล่อย แหล่งที่มาของปลา อัตราการให้อาหาร อัตราการเจริญเติบโต จำนวนปลาที่ตายในแต่ละวันและคุณสมบัติของน้ำ ข้อมูลเหล่านี้จำเป็น สำหรับนักวิชาการเพื่อใช้ประกอบการตรวจวินิจฉัยโรคและแก้ไขปัญหา การบันทึกข้อมูลอย่าง ละเอียดถูกต้อง การบรรยายลักษณะอาการและพฤติกรรมของปลาที่ป่วย ผลของการตรวจสอบ คุณสมบัติของน้ำ จะมีส่วนช่วยในการวิเคราะห์โรคได้อย่างดี 4 ชนิดของโรคปลานิล โรคปลาสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดหลัก ๆ คือ โรคติดเชื้อ (infectious diseases) และโรค ไม่ติดเชื้อ (non-infectious diseases) โรคติดเชื้อมีสาเหตุมาจากเชื้อโรคซึ่งส่วนใหญ่พบได้ทั่วไปใน สิ่งแวดล้อมหรือติดมากับปลาซึ่งเป็นพาหะของโรค โรคเหล่านี้สามารถติดต่อกันได้ (contagious diseases) และต้องการการรักษาจัดการเพื่อที่จะควบคุมการระบาดของโรค ในทางตรงกันข้าม โรค ไม่ติดเชื้อซึ่งเกิดจากสภาวะแวดล้อมอันไม่เหมาะสม การขาดสารอาหาร ความบกพร่องทาง พันธุกรรม เป็นโรคซึ่งไม่ติดต่อและไม่สามารถใช้ยาในการรักษาได้ โรคติดเชื้อ อาจมีสาเหตุเกิดมาจากไวรัส แบคทีเรีย ปรสิตหรือเชื้อรา โรคที่เกิดจากปรสิต ปรสิตพบได้ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณเหงือกและผิวหนัง ปลาจะมีเมือกมากผิดปกติ เพื่อพยายามที่จะกำจัดปรสิตให้หลุดออกไป อาจสังเกตเห็นแผลตามลำตัว ปรสิตบางชนิด ก่อให้เกิดมีจุดขาว ๆ บนลำตัว สีของลำตัวปลาที่มีปรสิตเกาะอาจจะซีดหรือเข้มผิดปกติ ว่ายน้ำทุรน ทุราย ทำให้ปลาระคายเคือง น้ำหนักลด ตัวอย่างของปรสิตที่พบบ่อยในปลานิลได้แก่ 1. เห็บระฆัง (Trichodina sp.) มีลักษณะคล้ายระฆังคว่ำ มีขนเล็ก ๆ รอบตัว (cilia) บริเวณผิวด้านล่างมีอวัยวะยึดเกาะตัวปลา คล้ายกงจักร ปรสิตนี้พบในเหงือกและผิวตัวปลานิลเกือบทุกตัว ปลาที่มีปรสิตพวกนี้เกาะมาก ๆ จะ ไม่ค่อยกินอาหาร ว่ายน้ำกระวนกระวาย พลิกตัวไปมา มีการใช้สำตัวสีผนังบ่อเพื่อให้ปรสิตหลุด ออก และอาจทำให้ลูกปลาตายในปริมาณมากได้ พบระบาดในบ่อที่มีการเลี้ยงปลาหนาแน่นสูงและ มีสารอินทรีย์สูง การป้องกันดีกว่ารักษา เพราะปรสิตนี้แพร่ได้รวดเร็ว การป้องกันทำโดยตรวจปลา ก่อนที่จะนำมาเลี้ยง หากปลามีปรสิตติดมาต้องกำจัดโดยการใช้ฟอร์มาลิน 25 – 50 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร ภาพที่ 5 เห็บระฆัง 5 2. ปลิงใส (monogenes) ส่วนใหญ่พบเกาะอยู่ตามซี่เหงือกและบริเวณผิวหนัง ที่พบบ่อยในปลาน้ำจืด คือ ไจโรแดคทิลัส (Gyrodactylus sp.) และแดคทิโรไจรัส (Dactyrogyrus sp.) ส่วนปลิงใสที่มักพบในปลานิล ชื่อว่า ซิคลิโดไจรัส (Cichlidogyrus sp.) ปลาที่มีปรสิตพวกนี้เกาะอาจจะมีสีตัวเข้มกว่าปกติ กินอาหาร น้อยลง หากมีเกาะบริเวณซี่เหงือกในปริมาณมาก ทำให้เหงือกบวม อักเสบและการแลกเปลี่ยน อากาศของปลาลดลง มีผลให้ปลาตายได้เช่นกัน พบปรสิตกลุ่มนี้ในปลาเกือบทุกชนิด วิธีการรักษา เช่นเดียวกับเห็บระฆัง คือ ใช้ฟอร์มาลิน 25 – 50 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร ภาพที่ 6 ปลิงใสที่มักพบในปลานิล ชื่อว่า ซิคลิโดไจรัส (Cichlidogyrus sp) 3. โรคเห็บปลา ปลาที่มีเห็บปลาเกาะจะสังเกตเห็นพยาธิรูปร่างกลม สีเขียวปนน้ำตาล ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 – 7 มิลลิเมตร พบตามลำตัวและครีบในปลามีเกล็ด เช่น ปลานิล ปลา ไน ปลาตะเพียน ปลาช่อน เป็นต้น ปลาที่มีปรสิตพวกนี้เกาะเยอะ ๆ จะเกิดแผลตกเลือด ปลาว่ายน้ำ ทุรนทุราย และพยายามถูตัวเองกับข้างบ่อหรือตู้เพื่อให้ปรสิตหลุดออก รักษาโดยการแช่ปลาใน สารละลายยาฆ่าแมลงจำพวกไตรคลอฟอน 0.5 – 0.75 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร หรือดิพเทอร์เรกซ์ (dipterex) 0.25 – 0.5 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร อย่างไรก็ตามการใช้ไตรคลอฟอนเข้มข้น 0.25 ppm มี ผลยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะซิติลโคลินเอสเตอเรสซึ่งเป็นเอนไซม์ควบคุมการทำงานของ ระบบประสาทลดลงถึง 75% แต่ไม่ได้ทำให้ปลาตายอย่างใด (Guimarães et al. 2007) ดังนั้นการใช้ สารเคมีนี้จึงควรระมัดระวังไม่ให้ปลาเครียดเกินไปและไม่ใช้กับปลาในระยะใกล้จับ เพราะสารเคมี อาจจะปนเปื้อนในเนื้อปลาได้ 6 ภาพที่ 7 เห็บปลา 4. โรคหมัดปลา หมัดปลามีลำตัวยาวรีและเป็นปล้อง มีสีแดงเข้มจนเกือบดำ ปลาที่มีหมัดปลา เกาะจะว่ายน้ำทุรนทุราย กระโดดขึ้นผิวน้ำ หากหมัดปลาดูดเลือดระบาดจำนวนมาก ทำให้ปลาตาย ได้ ปลาที่มีหมัดปลาเกาะ ได้แก่ ปลานิล ปลาสวาย ปลาบึก เป็นต้น รักษาโดยการแช่ไตรคลอฟอน สัปดาห์ละครั้ง ติดต่อกัน 3 – 4 สัปดาห์ ภาพที่ 8 หมัดปลาหรือเห็บสายฟ้า โรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ลักษณะการติดเชื้อทางแบคทีเรียจะคล้าย ๆ กัน จะมีการตกเลือด มีแผลตามลำตัว ครีบกร่อน กกหูบวม มีน้ำในช่องท้อง ไม่กินอาหาร ที่พบบ่อยมี 2 ชนิด คือ 1. โรคเกิดจากเชื้อแอโรโมแนส (Aeromonas hydrophila) เป็นโรคที่มีก่อให้เกิดความเสียหาย ทางเศรษฐกิจมากในการเลี้ยงปลาดุก ปลานิล กบและปลาน้ำจืดอื่น ๆ และมักพบบ่อยในบ่อที่เลี้ยง โดยให้อาหารสดหรือการเลี้ยงแบบผสมผสาน ซึ่งเชื้อตัวนี้จะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำอยู่แล้วโดยเฉพาะ แหล่งที่มีสารอินทรีย์ปริมาณสูง ความเครียดไม่ว่าจะเป็นการขนส่ง การเคลื่อนย้าย ปริมาณ ออกซิเจนที่ต่ำ การให้อาหารที่ไม่ดี การมีปรสิตเกาะเยอะ ๆ ล้วนแต่เป็นสาเหตุเหนี่ยวนำให้ปลาติด เชื้อ ปลาติดเชื้อจะว่ายน้ำเฉื่อยชา ไม่กินอาหาร ครีบกร่อน มีการตกเลือด เกิดบาดแผลเป็นหลุม ลึก ท้องบวม ตับเหลือง มีการตกเลือดบริเวณลำไส้ 7 ภาพที่ 9 ปลานิลเป็นแผลเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแอโรโมแนส 2. โรคคอลัมนาริส เกิดจากเชื้อแฟลกซิแบคเตอร์ (Flexibacter columnaris) ปลาที่ติดเชื้อได้ ง่ายเมื่อเกิดความเครียดจากการขนส่ง โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน และช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลง อากาศกะทันหัน ปลาจะมีตัวสีด่างซีดเป็น แถบ ๆ มีเมือกมากผิดปกติ ครีบกร่อน เหงือกกร่อน อาจ มีการสร้างสารสีเหลืองเกิดขึ้นบริเวณบาดแผล ภาพที่ 10 ลูกปลานิลมีหางกุดกร่อน เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแฟลกซิแบคเตอร์ 3. โรคติดเชื้อแบคทีเรียสเตรฟโตคอคคัส (Streptococcus sp.) ปลานิลที่ติดเชื้อแบคทีเรียนี้จะมีตาขุ่นขาว ว่ายน้ำช้า ๆ ลอยนิ่ง รอบ ๆ ช่องขับถ่าย จะบวมแดง มักจะระบาดรุนแรงในหน้าร้อน สามารถทำให้ปลาตายจำนวนมากในเวลาอันสั้นหากมี การติดเชื้อรุนแรง อย่างไรก็ตามมีรายงานวิจัยหลายชิ้นที่กำลังพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อ แบคทีเรียชนิดนี้ นิลุบลและคณะ (2549) ทดลองให้วัคซีนเชื้อตายแก่ปลานิลที่เลี้ยงในกระชัง ใน แม่น้ำชี จ.มหาสารคาม พบว่า ปลาที่ได้รับวัคซีนมีอัตรารอดสูงกว่าปลาที่ไม่ได้รับวัคซีน 8 ภาพที่ 11 ปลานิลมีตาโปนขุ่นขาว เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรฟโตคอคคัส โรคติดเชื้อแบคทีเรียมักจะเป็นการติดเชื้อภายใน ซึ่งต้องรักษาด้วยอาหารผสมยาปฏิชีวนะ โดยทั่วไปปลาที่ติดเชื้อแบคทีเรียจะมีการตกเลือดหรือเป็นแผลฝีบริเวณผิวลำตัว รอบตาและปาก บางครั้งจะพบว่า ท้องบวม ตาโปน กลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ ออกซิเตต ร้าซัยคลิน เททราซัยคลิน ออกโซลินิคแอซิค (oxolinic acid) นาลิดิกแอซิค (nalidixic acid) และ ซัลฟาเมทท็อกซิน/ออเมโทรพริม (sulfamethoxaxde/trimethoprim) ควรใช้ยาติดต่อกัน 5 – 14 วัน แล้วแต่ชนิดของยา อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ยาต้านจุลชีพในการป้องกันโรค เพราะจะทำให้เกิดการ ดื้อยา ควรหยุดใช้ยาอย่างน้อย 21 วันก่อนจับขาย เพื่อมิให้ยาเกิดการตกค้างในสัตว์น้ำ หากเกิดการ ติดเชื้อแบคทีเรียภายนอก เช่นปลาที่เป็นโรคคอลัมนาลิส ปลาจะมีลักษณะตัวด่าง โรคนี้อาจเกิดขึ้น หลังจากการเคลื่อนย้ายปลา หรือช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหัน ช่วงอากาศเย็น หรือช่วงฝน ตกหนัก การรักษาอาจทำได้โดยใช้ยาเหลือง (acriflavin) แช่ในอัตราความเข้มข้น 1 – 3 ppm โรคติดเชื้อไวรัสยากที่จะแยกลักษณะปลาที่ติดเชื้อแบคทีเรีย โรคนี้ยากในการตรวจวินิจฉัย และไม่มียาปฏิชีวนะในการรักษาโรคที่เกิดจากไวรัส สำหรับปลานิลในประเทศไทยไม่มีรายงาน การเกิดโรคจากเชื้อไวรัส โรคปลาที่เกิดจากการติดเชื้อรา สปอร์ของเชื้อราพบอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำ เชื้อราที่พบบ่อย ได้แก่ Saprolegnia ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในไข่ที่มีการฟักที่ไม่ดี เมื่อปลาเกิดบาดแผล ไม่ว่าจะเกิดจาก บอบช้ำจากการขนส่ง การติดเชื้อปรสิตหรือไวรัส เชื้อราสามารถที่จะไปเจริญบนบาดแผลดังกล่าว ทำให้เห็นเป็นปุยสีขาวหรือสีน้ำตาลปรากฏอยู่ สารเคมีใช้ในการกำจัดเชื้อราคือฟอร์มาลินและด่าง ทับทิม เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วการติดเชื้อจะเกิดขึ้นมาจากสาเหตุอื่นเหนี่ยวนำมาก่อน ดังนั้นต้อง ตรวจหาสาเหตุเบื้องต้นว่า ทำไมปลาจึงติดเชื้อราเพื่อจะได้แก้ไขที่ต้นเหตุ โรคไม่ติดเชื้อ สามารถแบ่งได้เป็นโรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม โรคที่เกิดจาก อาหารและโรคที่เกิดจากความบกพร่องทางพันธุกรรม 9 โรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจแก่วงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจำนวนมาก ซึ่งอาจเกิดจาก ปัญหาออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำมีปริมาณต่ำ (ไม่ควรต่ำกว่า 3 พีพีเอ็ม) การเลี้ยงปลาในอัตราที่ หนาแน่นเกินไป เมื่อเลี้ยงไประยะหนึ่งปลาจะว่ายน้ำลอยหัวในช่วงเช้า ถ้าไม่รีบแก้ไข ปลาจะทยอย ตาย สาเหตุเกิดจากออกซิเจนในบ่อไม่เพียงพอ หรือมีปริมาณแอมโมเนียที่สูง (ไม่ควรเกิน 0.02 พีพี เอ็ม) ควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำหรือใช้เครื่องตีน้ำหรือดูดน้ำพ่นไปในอากาศเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจน ในบ่อ ปัญหาความแปรปรวนของสภาพอากาศเป็นปัญหาที่อยู่เหนืออำนาจเกษตรกรที่จะควบคุม ได้ ผู้เลี้ยงปลาต้องเฝ้าระวังไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำอย่างรวดเร็วเกินไป การจัดการ คุณภาพน้ำที่ดีจะเป็นวิธีการในการป้องกันโรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมได้ ในช่วงฤดูหนาวต้องสังเกต ว่ามีปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นโรคหรือไม่ หากเจอปลาในแหล่งน้ำเป็นโรค ให้รีบปิดทางนํ้าเขา้ และหยุดการเติมน้ำจากบ่อธรรมชาติ ระมัดระวังอย่าให้ปลาบอบช้ำเมื่อมีการขนย้ายปลา อาจใช้เกลือแกง 0.5 – 1% เพื่อลด ความเครียดจากการขนส่งและเคลื่อนย้ายปลา ปลาที่ได้รับสารพิษในปริมาณมาก อาจจะเป็นพิษจากยาฆ่าแมลง ยาปราบวัชพืช หรือ น้ำ เสียจากโรงงานอุตสาหกรรม อาจทำให้ปลาตายจำนวนมาก มักการขับเมือกออกจากตัวจำนวนมาก กระพุ้งแก้มเปิดกว้าง การตายในลักษณะนี้แก้ไขได้ยาก ต้องมีการป้องกันที่ดี ผู้เลี้ยงปลาในกระชัง ในแมน่ ํ้าต่าง ๆ ควรมีการร่วมมือกันสร้างเครือข่ายในการตรวจสอบคุณภาพน้ำและอนุรักษ์แหล่งน้ำ ให้มีคุณภาพดีเพียงพอในการเลี้ยงปลา รวมทั้งช่วยเตือนภัยยามที่เกิดปัญหาน้ำหลาก น้ำท่วม หรือ การลอบปล่อยน้ำทิ้งที่ไม่ได้บำบัดลงสู่แหล่งน้ำ หากในบ่อมีเลนก้นบ่อปริมาณมาก โดยเฉพาะบ่อที่เลี้ยงปลามาแล้วหลายรุ่น ทำให้เกิดการ สะสมของเสียต่าง ๆ ที่พื้นบ่อ เกิดสารพิษที่เป็นอันตรายต่อปลา ทำให้ปลาเกิดโตช้า เกิดโรคได้ง่าย รวมทั้งอาจส่งผลให้ปลามีกลิ่นโคลนและขายได้ราคาไม่ดี ดังนั้นก่อนปล่อยปลาเลี้ยงทุกครั้งต้องมี การเตรียมบ่อที่ดี กำจัดเลนก้นบ่อ ตากบ่อให้แห้งสนิท ปรับสภาพพื้นบ่อด้วยปูนขาว ระวังไม่ให้ อาหารมากจนเกินไป โรคที่เกิดจากอาหาร ในช่วงฤดูหนาวปลาจะกินอาหารลดลง เราจะต้องปรับปริมาณอาหารที่ให้ลง ด้วย เพื่อไม่ให้อาหารเหลือและน้ำในบ่อเน่าเสียเสีย ส่วนที่ปลาที่ปล่อยลงบ่อใหม่ ๆ เช่นกัน ไม่ จำเป็นต้องให้อาหารทันที เนื่องจากปลามักจะเครียดจากการขนส่งและไม่กินอาหาร ควรจัดหา อาหารที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนจากบริษัทที่มีชื่อเสียง จัดเก็บไว้ในที่แห้ง และไม่ควรจัดเก็บ เกิน 3 เดือน อย่างไรก็ตาม การให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปมากเกินความจำเป็นทำให้ปลานิลอ้วนและมี ก้อนไขมันสะสมในช่องท้องจำนวนมาก ถุงน้ำดีจะขยายขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ปลาเหล่านี้อ่อนแอ 10 และตายได้ง่ายหากสภาพแวดล้อมไม่ดี มีงานวิจัยหลายชิ้นทดลองให้อาหารเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ปลานิล เช่น ชนกันต์และคณะ (2549) ได้ทดลองใช้กระเจี๊ยบแดงในการผสมอาหารเพื่อเลี้ยงปลานิล พบว่า กระเจี๊ยบแดงสามารถช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะแต่ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโต อัตรารอดตายและอัตราแลกเนื้อของปลา Christybapita et al. (2007) ได้ใช้ใบกระเม็ง (Eclipta alba) ผสมอาหารให้ปลานิล พบว่า ปลานิลมีภูมิคุ้มกันโรคแบบไม่จำเพาะเพิ่มสูงขึ้นและมีอัตราการตาย ลดลงเมื่อทดสอบให้ปลาได้รับเชื้อแบคทีเรีย Aeromonas hydrophila โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้ปลามีลักษณะร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ อ่อนแอ ติดโรค ได้ง่าย อัตรารอดต่ำ สาเหตุน่าจะมาจากการใช้พ่อแม่พันธุ์จำนวนน้อยคู่ ทำให้เกิดการผสมเลือดชิด ปลานิลเป็นปลาที่ค่อนข้างแข็งแรง แต่การตายของปลาและโรคระบาดปลาที่เกิด ส่วนใหญ่ มีสาเหตุเหนี่ยวนำมาจากปลาเกิดอาการเครียด เนื่องจากคุณภาพน้ำที่แย่ลง การเลี้ยงที่หนาแน่น เกินไป การให้อาหารไม่เพียงพอ การตัดสินใจในการรักษาโรคปลานั้น ต้องวินิจฉัยโรคให้ถูกต้อง ก่อน ว่า ปลาเกิดโรคจากการติดเชื้ออะไร หรือปลาเป็นโรคไม่ติดเชื้อ เพื่อที่จะทำการป้องกันรักษา ได้ถูกต้องและทันเวลา แต่ส่วนใหญ่โรคระบาดปลา มักจะเกิดจากสาเหตุร่วมกันของเชื้อโรคและ สภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม การรักษาป้องกันจึงต้องใช้วิธีการจัดการควบคู่ไปกับการใช้ยาและ สารเคมี ควรมีการปรึกษานักวิชาการประมงหรือสัตวแพทย์ใกล้บ้าน เนื่องจากการใช้ยาในบ่อขนาด ใหญ่อาจจะไม่คุ้มคุ้มกับค่ายา เอกสารอ้างอิง กมลพร ทองอุไทย. 2539. โรคปลานิล. เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 176. สถาบันวิจัยประมงน้ำจืด กรม ประมง 23 หน้า. ชนกันต์ จิตมนัส. 2548. เอกสารประกอบการสอนวิชาโรคปลา. คณะเทคโนโลยีการประมงและ ทรัพยากรทางน้ำ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 142 หน้า. ชนกันต์ จิตมนัส น้ำเพชร ประกอบศิลป์ สุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย. 2549. การใช้กระเจี๊ยบแดงผสมอาหาร เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปลานิล. รายงานผลงานวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่. 38 หน้า. นิลุบล กิจอันเจริญ ชุติมา หาญจวณิช นงนุช สุวรรณเพ็ง. 2549. วารสารวิจัย มข. ประสิทธิภาพ ของการให้วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อ Streptococcus agalactiae ในการป้องกันโรคสเตรปโต คอคโคซิสในปลานิล 11: 53 – 61. 11

1 ความคิดเห็น: