วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตข้าวโพดหวานในระบบการปลูกข้าว-ถั่วเหลือง-ข้าวโพดหวาน (Appropriate Technology for Sweet Corn Production in Rice-Soybean Cropping System Type)

แบบรายงานเรื่องเต็ม ผลงานวิจัยที่สิ้นสุด ปีงบประมาณ 2550 1. แผนงานวิจัยหลัก 20. แผนงานวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตในพื้นที่ 2. โครงการวิจัย 64. การศึกษาระบบการผลิต กิจกรรม 2 มาตรฐานคุณภาพ กิจกรรมย่อย 2.4 การพัฒนาระบบการผลิตและเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพด 3. ชื่อการทดลอง 2.4.3การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตข้าวโพดหวานในระบบการปลูกข้าว-ถั่วเหลือง-ข้าวโพดหวาน (Appropriate Technology for Sweet Corn Production in Rice-Soybean Cropping System Type) 4. คณะผู้ดำเนินงาน หัวหน้าโครงการวิจัย นางพัชรี เนียมศรีจันทร์ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 หัวหน้าการทดลอง นางสาวละอองดาว แสงหล้า ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ ผู้ร่วมงาน (การทดลอง) นางสาวรัชนี โสภา ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ นางสาวอ้อยทิน จันทร์เมือง ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ นายวิระศักดิ์ เทพจันทร์ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ นายบุญญา อนุสรณ์รัชดา ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ นายสุทัด ปินตาเสน ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ นายสุพัฒน์ ว่านเครือ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ นายนพพร ทองเปลว ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ นางวาสนา พัฒนมงคล ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ นางสาวกาญจนา จันแก้ว ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ นางศรัญญา พวงมาลัย ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ 5. บทคัดย่อ ดำเนินการทดสอบเทคโนโลยีแบบเปรียบเทียบระหว่าง วิธีปรับใช้ของชุดเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดหวานจากคำแนะนำของศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท กับวิธีของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่และแปลงทดลองพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ผลการทดลองพบว่าระบบที่ 1 (ข้าว-ข้าวโพด) วิธีเกษตรกรผลผลิตฝักสดต่อไร่สูงกว่าวิธีปรับใช้ชุดเทคโนโลยีของศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ในทั้ง 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ไฮบริกซ์ 3, พันธุ์ฮันนี่สวีทเตอร์ # 27 และพันธุ์ซูการ์ # 75 โดยพันธุ์ซูการ์ # 75 ให้ผลตอบแทนต่อไร่สูงที่สุดในระบบการปลูกข้าว-ข้าวโพดหวาน รองลงมาคือพันธุ์ฮันนี่สวีทเตอร์ # 27 และพันธุ์ไฮบริกซ์ 3 ตามลำดับ ในระบบที่ 2 (ข้าว-ถั่วเหลือง-ข้าวโพดหวาน) การ ผลิตข้าวโพดหวานโดยใช้เทคโนโลยีการปรับใช้ทำให้ได้ผลผลิต/ไร่และกำไรสูงกว่าวิธีเกษตรกร โดยพันธุ์ไฮบริกซ์ 3 และซูการ์# 75 ให้ผลผลิตใกล้เคียงกัน ในระบบที่ 3 (ข้าวโพดหวานอย่างเดียว) วิธีเกษตรกรผลผลิตฝักสด/ไร่เฉลี่ยในทั้งสองปีสูงกว่าวิธีปรับใช้ทั้ง พันธุ์ไฮบริกซ์ 3 และพันธุ์ซูการ์ # 75 โดยพันธุ์ไฮบริกซ์ 3 ให้ผลตอบแทน/ไร่โดยเฉลี่ยทั้งสองปีสูงกว่าพันธุ์ซูการ์ # 75 6. คำนำ ข้าวโพดหวานเป็นข้าวโพดฝักสดชนิดหนึ่ง ที่นิยมบริโภคภายในประเทศและส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เนื่องจากมีรสชาติหวานและมีความมัน มีรายงานว่า ข้าวโพดหวานอุดมไปด้วย คาร์โบไฮเดรท โฟเลต ไนอาซีน ไทยอามีน วิตามินอี และ ซี (Kemble and Dangler, 2004) และเป็นพืชที่ปลูกง่าย ใช้ระยะเวลาในการผลิตสั้น มีความเสี่ยงต่ำ ใช้สารเคมีน้อย นอกจากนี้ยังเหมาะสมกับเกษตรกรในชนบท โดยเฉพาะในเขตที่มีน้ำและสามารถปลูกได้ทั้งปี เป็นพืชที่มีศักยภาพการส่งออกและการบริโภคภายในประเทศอยู่ในระดับสูง จึงทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยแหล่งปลูกจะอยู่กระจัดกระจายทั่วไป สำหรับเขตภาคเหนือตอนบนมีพื้นที่ปลูก (24%) คิดเป็นอันดับ 2 รองจากภาคตะวันตก (33%) แหล่งปลูกที่สำคัญ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน และ แม่ฮ่องสอน โดยในปีเพาะปลูก 2543-2546 มีพื้นที่ปลูกอยู่ระหว่าง 157,539-210,271 ไร่ และมีผลผลิตอยู่ในช่วง 253,394-355,978 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,668-1,727 กิโลกรัมต่อไร่(วันชัย และ วิไลวรรณ, 2549) ปัจจุบันในประเทศไทยมีตลาดข้าวโพดหวานอยู่ 2 รูปแบบ คือ ตลาดบริโภคฝักสด ซึ่งมีทั้งฝักสดบริโภคภายในประเทศและฝักสดแช่แข็งส่งออก และยังมีอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป โดยตลาดมีลักษณะความต้องการของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน มีมูลค่าการส่งออกปีละไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท ในปี 2545 โรงงานแปรรูปทั้งหมดภายในประเทศต้องการผลผลิตข้าวโพดหวาน 1,200 ตันต่อวัน และเพิ่มเป็น 1,700 ตันต่อวัน ในปี 2546 (สถาบันวิจัยพืชไร่, 2546) และถือว่าประเทศไทยสามารถส่งออกข้าวโพดหวานในรูปบรรจุกระป๋องได้เป็นอันดับ 3 ของโลก และปริมาณผลผลิตคิดเป็นอันดับ 8 ของโลก (Food and Agriculture Organization, 2004) โดยผลผลิตที่ส่งโรงงานเพื่อแปรรูปจะต้องมีลักษณะมาตรฐานคือ เป็นฝักสมบูรณ์ ไม่มีโรคแมลงทำลาย ขนาดฝักสดปอกเปลือกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 เซนติเมตร ความยาว 12-18 เซนติเมตร น้ำหนัก 200-250 กรัมต่อฝัก เมล็ดเรียงเป็นระเบียบ 14-16 แถว ๆ หนึ่งมี 30-40 เมล็ด มีสีสม่ำเสมอทั้งฝักและตรงตามพันธุ์ นอกจากนี้ต้องมีความหวานไม่ต่ำกว่า 14 บริกซ์ และคงความหวานไม่ต่ำกว่า 36 ชั่วโมง (กรมวิชาการเกษตร, 2545) สำหรับพื้นที่การปลูกข้าวโพดหวานในเขตภาคเหนือตอนบนนั้น ยังขาดการศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม ทั้งการใช้พันธุ์ เขตกรรม การกำจัดศัตรูพืช ต้นทุนการผลิต ผลผลิตรวมไปถึงคุณภาพที่ได้เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางการพัฒนาการผลิตข้าวโพดหวานต่อไป 7. อุปกรณ์วิธีการ อุปกรณ์ - เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพันธุ์ไฮบริกซ์ 3 ฮันนี่สวีทเตอร์ # 27 และ พันธุ์ซูการ์ # 75 - ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 16-20-0 13-13-21 และสูตร 15-15-15 - สารเคมีป้องกันและกำจัดโรค-แมลง- วัชพืช - อุปกรณ์ปฏิบัติงานในไร่-นา วิธีการ ดำเนินการทดสอบเทคโนโลยีแบบเปรียบเทียบระหว่างวิธีปรับใช้ชุดเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดหวานจากคำแนะนำของศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท กับวิธีของเกษตรกร โดยสำรวจข้อมูลวิธีการปลูกข้าวโพดหวานจากเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ (ตารางผนวกที่ 1) ทำการทดลองโดยเตรียมพื้นที่ปลูก เก็บตัวอย่างดิน นำไปวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในดิน เตรียมแปลงปลูกตามแต่ละวิธีการปลูกข้าวโพดหวาน และใส่ปุ๋ยโดยวิธีปรับใช้ชุดเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดหวานของศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาทจะใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำจากค่าวิเคราะห์ดิน ดูแลรักษาและให้น้ำตามสภาวะฝนและความต้องการของพืช เก็บเกี่ยวหลังจากข้าวโพดหวานออกไหม 18-20 วัน หรือตามอายุของพันธุ์ บันทึกข้อมูลวันปฏิบัติการต่างๆ เช่น วันปลูก วันงอก วันออกไหม และวันเก็บเกี่ยว วิเคราะห์องค์ประกอบของผลผลิต และผลผลิต ได้แก่ ความสูงต้น ความสูงฝัก จำนวนต้นเก็บเกี่ยว จำนวนฝักเก็บเกี่ยว จำนวนฝักต่อต้น น้ำหนักฝักทั้งเปลือกต่อฝัก น้ำหนักฝักปอกเปลือกต่อฝัก น้ำหนักฝักทั้งเปลือกต่อไร่ และน้ำหนักฝักปอกเปลือกต่อไร่ ค่าความหวาน (Brix) บันทึกข้อมูลอุตุนิยมวิทยาและวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน 8. ระยะเวลาทำการทดลอง ธันวาคม 2549 ถึง 30 ตุลาคม 2550 9. สถานที่ทำการทดลอง แปลงทดลองและขยายพันธุ์พืชพร้าว และ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 10. ผลการทดลองและวิจารณ์ ระบบที่ 1 (ข้าว-ข้าวโพดหวาน) จากผลการทดลองในปี 2549 และ 2550 พบว่าวิธีเกษตรกรให้น้ำหนักฝักสดทั้งเปลือกต่อไร่ น้ำหนักฝักสดปอกเปลือกต่อไร่ จำนวนฝักเก็บเกี่ยวต่อไร่ และค่าความหวานของข้าวโพดหวานทั้ง 2 พันธุ์ในทั้งสองปีสูงกว่าวิธีปรับใช้ชุดเทคโนโลยีของศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท และเมื่อพิจารณาน้ำหนักฝักทั้งเปลือกต่อฝัก และน้ำหนักฝักปอกเปลือกต่อฝัก พบว่าวิธีปรับใช้ชุดเทคโนโลยีของศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาทมีน้ำหนักฝักทั้งเปลือกต่อฝัก และน้ำหนักฝักปอกเปลือกต่อฝักสูงกว่าวิธีเกษตรกรในทั้ง 2 ปี และเมื่อพิจารณาผลตอบแทนต่อไร่ พบว่าวิธีเกษตรกรให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยสูงกว่าวิธีปรับใช้ชุดเทคโนโลยีของศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท โดยมีผลตอบแทนเฉลี่ยในพันธุ์ไฮบริกซ์ 3 14,106 และ 11,981.50 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ในพันธุ์ฮันนี่สวีทเตอร์ # 27 14,017 และ 12,977 บาทต่อไร่ และในพันธุ์ซูการ์ # 75 14,470 และ 13,680 บาทต่อไร่ ตามลำดับ(ตารางภาคผนวกที่ 2 และ 3) ระบบที่ 2 (ข้าว-ถั่วเหลือง-ข้าวโพดหวาน) ปี 2549 พบว่าผลผลิตข้าวโพดหวานทั้งเปลือกมีค่าไม่แตกต่างกัน โดยมีค่าดังนี้ 2,499 และ 2,567 กก./ไร่ สำหรับวิธีปรับใช้และวิธีเกษตรกร ตามลำดับ วิธีเกษตรกรมีค่าสูงกว่าเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มีจำนวนต้นเก็บเกี่ยวและจำนวนฝักเก็บเกี่ยว/ไร่สูงกว่าวิธีเกษตรกร นอกจากนี้ยังมีขนาดฝักทั้งเปลือกที่ใหญ่ โดยมีน้ำหนักฝักทั้งเปลือก/ฝัก (274.87 กรัม/ฝัก) สูงกว่าวิธีปรับใช้ (240.44 กรัม/ฝัก) ส่วนต้นทุนการผลิตพบว่าวิธีเกษตรกรมีค่า(6,235 บาท/ไร่) ต่ำกว่าวิธีแนะนำ (6,495 บาท/ไร่) เล็กน้อย ทำให้วิธีเกษตรกรสามารถทำรายได้สูงกว่าวิธีปรับใช้เล็กน้อยเช่นกัน ทำให้วิธีเกษตรกรมีกำไร 3,520 บาท/ไร่ สูงกว่าวิธีปรับใช้ ซึ่งมีค่า 3,001 บาท/ไร่ ส่วนความหวานพบว่ามีค่าใกล้เคียงกันคือ 14.75-15.00 องศาบริกซ์ (ตารางภาคผนวกที่ 4 ) ปี 2550 ในตารางภาคผนวกที่ 5 พบว่าผลผลิตข้าวโพดหวานทั้งเปลือกในพันธุ์ไฮบริกซ์ 3 มีค่าแตกต่างกัน โดยวิธีปรับใช้มีค่าคือ 4,425 บาท/ไร่ สูงกว่าวิธีเกษตรกรซึ่งมีค่า ส่วน 4,051 กก./ไร่ เป็นผลมาจากการมีขนาดฝักที่ใหญ่ โดยมีน้ำหนักฝักทั้งเปลือก/ฝัก (379.1 กรัม/ฝัก) สูงกว่าวิธีเกษตรกร (362.0 กรัม/ฝัก) ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนต้นเก็บเกี่ยวและจำนวนฝักเก็บเกี่ยว/ไร่ต่ำกว่าวิธีวิธีเกษตรกร ส่วนต้นทุนการผลิตพบว่าวิธีเกษตรกรมีค่า(6,215 บาท/ไร่) ต่ำกว่าวิธีปรับใช้ (6,475 บาท/ไร่) เล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตาม วิธีปรับใช้สามารถทำรายได้สูงกว่าวิธีเกษตรกรเล็กน้อยเช่นกัน ทำให้วิธีปรับใช้มีกำไร 10,241 บาท/ไร่ สูงกว่าวิธีเกษตรกร ซึ่งมีค่า 9,077 บาท/ไร่ ส่วนความหวานพบว่ามีค่าใกล้เคียงกันคือ 13.8-13.5 องศาบริกซ์ สำหรับพันธุ์ซูการ์ #75 พบว่าวิธีปรับใช้มีผลผลิตทั้งเปลือก 4,250 กก./ไร่ สูงกว่าวิธีเกษตรกร 3,969 กก./ไร่ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มีขนาดฝักทั้งเปลือกใหญ่กว่า โดยมีน้ำหนักทั้งเปลือก 322.9 กรัม/ฝัก สูงกว่าวิธีเกษตรกร ซึ่งมีค่า 305.6 กรัม/ฝัก ถึงแม้ว่าต้นทุน(6,215 บาท/ไร่) ของวิธีเกษตรกรมีค่าต่ำกว่าวิธีปรับใช้(6,475 บาท/ไร่) แต่วิธีเกษตรกรสามารถทำรายได้สูงกว่าวิธีเกษตรกร ทั้งนี้เนื่องจากการมีผลผลิตที่สูงกว่าวิธีเกษตรกรร และทำให้มีกำไรสุทธิเป็น 9,679 บาท/ไร่ สูงกว่าวิธี(8,867 บาท/ไร่) เกษตรกร ส่วนความหวานมีค่าอยู่ระหว่าง 13.9-14.2 องศาบริกซ์ ระบบที่ 3 (ข้าวโพดหวานอย่างเดียว) ปี 2549 พบว่าวิธีเกษตรกรมีน้ำหนักฝักสดทั้งเปลือกต่อไร่ น้ำหนักฝักสดปอกปลือกต่อไร่ และจำนวนฝักเก็บเกี่ยวต่อไร่สูงกว่าวิธีปรับใช้ชุดเทคโนโลยีของศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ในข้าวโพดหวานทั้งสองพันธุ์ ได้แก่พันธุ์ไฮบริกซ์ 3 และพันธุ์ซูการ์ # 75 และเมื่อพิจารณาค่าความหวาน พบว่า วิธีเกษตรกรให้ค่าความหวานในพันธุ์ไฮบริกซ์ 3 สูงกว่าวิธีปรับใช้ชุดเทคโนโลยีของศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท แต่พบว่าทั้งสองวิธีการให้ค่าความหวานเท่ากันในพันธุ์ซูการ์ # 75 (ตารางภาคผนวกที่ 7) ปี 2550 พบว่าในพันธุ์ไฮบริกซ์ 3 วิธีปรับใช้ชุดเทคโนโลยีของศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาทให้น้ำหนักฝักสดทั้งเปลือกต่อไร่ น้ำหนักฝักสดปอกเปลือกต่อไร่ น้ำหนักฝักสดทั้งเปลือกต่อฝัก และน้ำหนักฝักสดปอกเปลือกต่อฝักสูงกว่าวิธีเกษตรกร แต่เมื่อพิจารณาจำนวนฝักเก็บเกี่ยว พบว่าวิธีเกษตรกรมีจำนวนฝักเก็บเกี่ยวต่อไร่สูงกว่าวิธีปรับใช้ชุดเทคโนโลยีของศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท (4,817 และ 4,505 ฝักต่อไร่ ตามลำดับ) โดยทั้งสองวิธีการมีค่าความหวานของข้าวโพดหวานพันธุ์ไฮบริกซ์ 3 ใกล้เคียงกัน (13.8 และ 13.9 ตามลำดับ) สำหรับในพันธุ์ซูการ์ # 75 พบว่าวิธีเกษตรกรมีน้ำหนักฝักสดทั้งเปลือกต่อไร่ น้ำหนักฝักสดปอกปลือกต่อไร่ จำนวนฝักเก็บเกี่ยวต่อไร่ และค่าความหวานสูงกว่าวิธีปรับใช้ชุดเทคโนโลยีของศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท แต่วิธีเกษตรกรมีน้ำหนักฝักทั้งเปลือกต่อฝักและน้ำหนักฝักปอกเปลือกต่อฝักน้อยกว่าวิธีปรับใช้ชุดเทคโนโลยีของศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เมื่อพิจารณาผลตอบแทนเฉลี่ยในทั้งสองปี ในทั้งสองพันธุ์ พบว่าวิธีเกษตรกรให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าวิธีปรับใช้ชุดเทคโนโลยีของศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท โดยในพันธุ์ไฮบริกซ์ 3 ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 11,540.50 และ 10,478.50 บาทต่อไร่ ตามลำดับ และในพันธุ์ซูการ์ # 75 ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 11,214 และ 9,745.50 บาทต่อไร่ ตามลำดับ (ตารางภาคผนวกที่ 8 ) 11. สรุปผลการทดลอง ระบบที่ 1 (ข้าว-ข้าวโพด) วิธีเกษตรกรผลผลิตฝักสดต่อไร่สูงกว่าวิธีปรับใช้ชุดเทคโนโลยีของศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ในทั้ง 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ไฮบริกซ์ 3, พันธุ์ฮันนี่สวีทเตอร์ # 27 และพันธุ์ซูการ์ # 75 โดยพันธุ์ซูการ์ # 75 ให้ผลตอบแทนต่อไร่สูงที่สุดในระบบการปลูกข้าว-ข้าวโพดหวาน รองลงมาคือพันธุ์ฮันนี่สวีทเตอร์ # 27 และพันธุ์ไฮบริกซ์ 3 ตามลำดับ ระบบที่ 2 (ข้าว-ถั่วเหลือง-ข้าวโพดหวาน) การผลิตข้าวโพดหวานโดยใช้เทคโนโลยีการปรับใช้มีแนวโน้มทำให้ได้ผลผลิต/ไร่และกำไรสูงกว่าวิธีเกษตรกร โดยพันธุ์ไฮบริกซ์ 3 และซูการ์# 75 ให้ผลผลิตใกล้เคียงกัน ระบบที่ 3 (ข้าวโพดหวานอย่างเดียว) วิธีเกษตรกรผลผลิตฝักสด/ไร่เฉลี่ยในทั้งสองปีสูงกว่าวิธีปรับใช้ทั้ง พันธุ์ไฮบริกซ์ 3 และพันธุ์ซูการ์ # 75 โดยพันธุ์ไฮบริกซ์ 3 ให้ผลตอบแทน/ไร่โดยเฉลี่ยทั้งสองปีสูงกว่าพันธุ์ซูการ์ # 75 12. การนำไปใช้ประโยชน์ ผลการทดลองที่ได้ควรนำไปพัฒนาต่อ โดยการนำชุดเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดหวานของศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาทมาปรับใช้ในพื้นที่เขตภาคเหนือตอนบน จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ดิน และปรับระยะปลูก รวมถึงการใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพดินในแต่ละแหล่งปลูก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีและต้นทุนต่ำ โดยอาศัยข้อมูลการปลูกข้าวโพดหวานของเกษตรกรในพื้นที่เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ควรศึกษาชนิดของพันธุ์ข้าวโพดหวานที่เหมาะสมและให้ผลตอบแทนสูงควบคู่ไปด้วย 13. เอกสารอ้างอิง กรมวิชาการเกษตร.2545.เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับข้าวโพดหวาน.กรมวิชาการเกษตร. กระทรวงเกษตร และสหกรณ์. 26 หน้า. วันชัย ถนอมทรัพย์ และวิไลวรรณ พรหมคำ. 2549 (October, 2549). ความสำคัญ สถานการณ์การผลิต แหล่งปลูกและการตลาด. (Online) Available URL: http://www.doa.go.th/fieldcrops/vcorn/eco/index.HTM. สถาบันวิจัยพืชไร่. 2546. ข้าวโพดฝักสด. สรุปรายงานผลงานวิจัยพืชไร่ประจำปี 2546.สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร 115-139 น. Food and Agriculture Organization.2004.(Novenber 11, 2004).Area Harvested and Production. World Sweet Corn(Green maize) 1990-2003. (Online) Available URL: http://www.ers.usda.gov/data/sdp/view.asp Klemble J. M., and J.M., Dangler.2001. (November 8,2004) .Home and Market Garden. Sweet Corn.(online). Available URL: http;// www.cahe.nmsu.edu/pubs/-h/h-223.html. 14. ภาคผนวก ตารางผนวก 1 เปรียบเทียบวิธีปรับใช้ชุดเทคโนโลยีของศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท และวิธีเกษตรกรใน แปลงปลูกข้าวโพดหวาน ในระบบ การปลูกข้าวโพดหวานอย่างเดียว วิธีดำเนินการ วิธีปรับใช้ชุดเทคโนโลยีของ ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท วิธีเกษตรกรเขตภาคเหนือตอนบน 1.ช่วงปลูก ปีละ 2 ครั้ง ตลอดปี 2.พันธุ์ ลูกผสมเอกชน ลูกผสมเอกชน จำนวน 2 พันธุ์ 3.อัตราเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัมต่อไร่ 1 กิโลกรัมต่อไร่ 4.การเตรียมดิน ไถดะ 1 ครั้ง ตากดินไว้ 2 สัปดาห์ ไถแปร 1-2 ครั้ง ทำร่องปลูก ไถดะ 1 ครั้ง ตากดินไว้ 2 สัปดาห์ ไถแปร 1 ครั้ง ทำร่องปลูก 5.อัตราปลูกและระยะปลูก แถวคู่ ยกร่องระหว่างแถว 150 ซม. ระยะปลูก 25- ซม. 1 ต้นต่อหลุม แถวคู่ยกร่องระหว่างแถว 100 ซม. ระยะระหว่างต้น 30 ซม.หลุมละ 1 ต้น 6. การใส่ปุ๋ย ระบบที่ 1(ข้าว-ข้าวโพดหวาน) ครั้งที่ 1 รองพื้นด้วย 15-15-15 อัตรา 25-50 ก.ก/ไร่ ครั้งที่ 2 หลังปลูก 20-25 วัน ใส่ 46-0-0 อัตรา 25-50 ก.ก/ไร่ ครั้งที่ 3 หลังปลูก 40 วัน ใส่ 46-0-0 อัตรา 25 ก.ก/ไร่ ระบบที่ 2(ข้าว-ถั่วเหลือง-ข้าวโพดหวาน) ครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยรองพื้น 16-20-0 อัตรา 25 ก.ก/ไร่ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 25 ก.ก/ไร่ หรือ โรยข้างแถวแล้วพรวนกลบ เมื่อข้าวโพดหวานอายุได้ 20-25 วัน ครั้งที่ 3 ใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตรา 25 กก./ไร่ เมื่อข้าวโพดอายุ 40-45 วัน ระบบที่ 3(ข้าวโพดหวานอย่างเดียว) ครั้งที่ 1 รองพื้นด้วย 15-15-15 อัตรา 25-50 ก.ก/ไร่ ระบบที่ 1(ข้าว-ข้าวโพดหวาน) ครั้งที่ 1 หลังงอก 10-20 วัน ใส่ 46-0-0 อัตรา 25 กก./ไร่ ครั้งที่ 2 อายุ 40-65 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กก./ไร่ หยอดบริเวณใกล้โคนต้น ระบบที่ 2(ข้าว-ถั่วเหลือง-ข้าวโพดหวาน) ครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ย 46-0-0 และ 13-13-21 อัตรา 25 กก./ไร่ 1:1 เมื่อข้าวโพดหวาน อายุ 20 วัน ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตรและอัตราเดิมของครั้งที่ 1 เมื่อข้าวโพดหวานเริ่มออกดอก (45-50 วัน) โดยการ หยอดบริเวณโคนต้น ระบบที่ 3(ข้าวโพดหวานอย่างเดียว) ครั้งที่ 1 หลังงอก 10-20 วัน ใส่ 46-0-0 อัตรา ครั้งที่ 2 หลังปลูก 20-25 วัน ใส่46-0-0 อัตรา 25-50 ก.ก/ไร่ ครั้งที่ 3 หลังปลูก 40 วัน ใส่ 46-0-0 อัตรา 25 ก.ก/ไร่ 25 กก./ไร่ ครั้งที่ 2 อายุ 40-65 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กก./ไร่ หยอดบริเวณใกล้โคนต้น 7.การให้น้ำ ทุก 10-14 วัน ให้น้ำครั้งสุดท้ายที่ระยะน้ำนมหรือหยุดให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยว 3-5 วัน ให้ตามสภาวะฝนและตามความ ต้องการของพืชโดยสังเกตจากดิน และการเหี่ยวของใบพืช 8.การป้องกันกำจัดวัชพืช ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร อาทราซีน+ กรัมม๊อกโซน (1 กก.:1,000 ซีซี) ผสมน้ำ 200 ลิตรพ่นทันทีหลังปลูกและให้น้ำแล้ว 9.การป้องกันกำจัดโรคและ แมลง ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร 2-3 ครั้งต่อฤดูปลูกขึ้นอยู่กับการระบาด 10.การเก็บเกี่ยว หลังข้าวโพดออกไหม 18-20 วัน ตามอายุของพันธุ์ (ประมาณ 70 วันหลังงอก) ตารางที่ 2 เปรียบเทียบผลการทดสอบการปลูกข้าวโพดหวานในระบบข้าว-ข้าวโพดหวาน ระหว่างวิธีปรับใช้ชุดเทคโนโลยีของศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาทกับวิธีการของเกษตรกรของข้าวโพดพันธุ์ไฮบริกซ์ 3 และพันธุ์ฮันนี่สวีทเตอร์ # 27 ปี 2549 พันธุ์ไฮบริกซ์ 3 พันธุ์ฮันนี่สวีทเตอร์ # 27 หมายเหตุ: * พันุ์ฮันนี่สวีทเตอร์ # 27

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น