วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

ฐานข้อมูลงานวิจัยไม้ผล : ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง และแก้วมังกร (4) Fruits Research Database : Durian Mangosteen Rambutan Longkong and Dragon Fruit (4)

162 ฐานข้อมูลงานวิจัยไม้ผล : ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง และแก้วมังกร (4) Fruits Research Database : Durian Mangosteen Rambutan Longkong and Dragon Fruit (4) สุจริต ส่วนไพโรจน์1 นงนุช วงศ์สินชวน2 มนูญ ศิรินุพงศ์1 สมพร ช่วยอารีย์3 ปัทมา ศรีน้ำเงิน4 และ รัชฎา เศรษฐวงศ์สิน5 Sucharit Suanphairoch1, Nongnuch Wongsinchuan2, Manoon Sirinupong1, Somporn Chuai-Aree3, Pattama Srinamngoen 4 and Ratchada Setthawongsin 5 Abstract The database of durian, mangosteen, rambutan, longkong and dragon fruit was collected all articles in criteria, which published in 1965 to present. We collected all articles during Dec, 2006-2007. To facilitate researchers accessed the data. We gathered 1,036 records about durian, mangosteen, rambutan, longkong and dragon fruit were 402(38.80%), 294(28.38%), 149(14.38%), 162(15.64%) and 29(2.80%) records respectively, and also categorized to 14 subjects, such as cultivars 63(6.49%), cultural practice 131(13.51%), Biology 27(13.51), Chemistry/biochemistry 61(6.29%), plant physiology 219 (22.58%), postharvest physiology 197(20.31%), process ing/agro-industry 87 (8.97%), molecular biology 17(1.75%), engineering 44(4.54%), plant pathology, 66(6.80%), entomology 50(4.83%), agriculture extension 16(1.54%) economics 43(4.43%) and others 15(1.55%). Researchers could search at www.schuai.net/ WebBaseFruitResearch by keywords, article type, author(s) and year. The output displays the details, including abstract and also linked to full text. The database was completely inspected, therefore its confidently referred and projected to encourage research plan in the future. Key words : fruit database, durian, mangosteen, rambutan, longkong, dragon fruit บทคัดย่อ ฐานข้อมูลงานวิจัยไม้ผล: ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกองและแก้วมังกร ได้จัดรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ปี 2508- ปัจจุบัน เพื่อความสะดวกต่อนักวิจัยที่สนใจนำไปใช้ประโยชน์ เริ่มดำเนินการรวบรวมงานวิจัยตั้งแต่ ธันวาคม 2550-2551 สามารถรวบรวมได้ทั้งสิ้น 1,036 เรื่อง จัดจำแนกออกตามชนิดไม้ผล ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกองและ แก้วมังกร จำนวน 402, 294, 149, 162 และ 29 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 38.80, 28.38, 14.38, 15.64 และ 2.80 ลำดับ จัดแยกตามสาขาวิชาการ ได้แก่ พันธุ์ เขตกรรม ชีววิทยา เคมี/ชีวเคมี สรีรวิทยา วิทยาการหลังเก็บเกี่ยว การแปรรูป/อุตสาหกรรมเกษตร ชีวโมเลกุล วิศว กรรม โรคพืช เศรษฐศาสตร์ และอื่นๆ จำนวน 63, 131, 27, 61, 219, 197, 87, 17, 44, 66, 50, 16, 43 และ 15 เรื่อง คิดเป็น ร้อยละ 6.49, 13.51, 2.78, 6.29, 22.58, 20.31, 8.97, 1.75, 4.54, 6.80, 4.83, 1.54, 4.43 และ 1.55 ตามลำดับ นักวิจัย ผู้สนใจสามารถสืบค้นผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ทที่เว็บไซด์ www.schuai.net/WebBaseFruitResearch โดยสามารถสืบค้นจาก คำสำคัญ ประเภทผลงาน ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน หน่วยงานและปีตีพิมพ์ ผลจากการสืบค้นจะได้รับรายละเอียดของงานวิจัย และบทคัดย่อ รวมถึงการเชื่อมโยงไปยังแหล่งต้นฉบับ ฐานข้อมูลงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้อ้างอิงและใช้วางแผนการสนับสนุน งานวิจัยต่อไปในอนาคต คำสำคัญ : ฐานข้อมูลวิจัย ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง แก้วมังกร 1ภาควิชาเทคโนโลยีและการอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 94000 Department of technology and Industries, Faculty of Science and Technology, Prince of Songkla University Pattani Campus 94000 2ภาควิชาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 94000 Department of Science, Faculty of Science and Technology, Prince of Songkla University Pattani Campus 94000 3 ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 94000 Department of Mathematics and Computer Science, Prince of Songkla University Pattani Campus 94000 4คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี 22170 Faculty of Science and Arts, Burapha University Chanthaburi IT campus, Chanthaburi 22170 5โปรแกรมวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา สงขลา 90000 Agriculture program, Faculty of Agriculture Tecnology, Songkla Rajabhat University 90000 ว. วิทยาศาสตร์การเกษตร ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 (พิเศษ) กันยายน – ธันวาคม 2551 163 คำนำ ในปัจจุบันการให้บริการฐานข้อมูลของประเทศไทยมีอยู่มากและหลายสาขาหลายประเภท ทั้งนี้ให้บริการแก่บุคคล ทั่วไปหรือสมาชิก ตัวอย่างเช่น ฐานข้อมูล 40 ปี การประชุมวิชาการ มก. (http://kucon.lib.ku.ac.th/phpkucon/ index/html) ฐานข้อมูลทุเรียนออนไลน์ (www.doa.go.th/durian; http://210.240.186.155/durian) ฐานข้อมูล TDC 75 มหาวิทยาลัย/สถาบัน (http//:202.28.18.227/dcms/base) ฐานข้อมูลบัวในประเทศไทย (www.kmitl.ac.th/agricdata/lotus) และฐานข้อมูลงานวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (www.phtnet.org/content.asp?mod=research) เป็นต้น การรวบรวม งานวิจัยไม้ผลที่มีความหลากหลายและกระจัดกระจาย รวมเข้าเป็นฐานข้อมูลจะเป็นประโยชน์อย่างมาก แต่ยังไม่มีฐานข้อมูล งานวิจัยไม้ผลที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยสะดวกและมีประสิทธิภาพ กวิศร์ (2537) ได้รวบรวมบทคัดย่องานวิจัยไม้ผลสำหรับ ประเทศไทย ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในระหว่างปี พ.ศ.2526-2532 ได้ 736 เรื่องจากไม้ผล 14 ชนิด และไม้ผลอื่นๆ ซึ่งได้มีการ นำมาสรุปและวิเคราะห์ ตลอดจนผ่านการระดมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา(ไม้ผล) และได้ นำเสนอแนวทางการวิจัยในอนาคต (พ.ศ.2537-2547) ไว้ อย่างไรก็ตามเอกสารดังกล่าวเผยแพร่ในรูปรายงานวิจัยและยังคง อยู่ในสภาพจำกัดและเข้าถึงได้ยาก การจัดทำฐานข้อมูลในรูปแบบออนไลน์เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะทำให้ผู้สนใจเข้าถึงข้อมูล มากยิ่งขึ้นจะช่วยให้นักวิจัยใช้ประโยชน์ได้และเป็นประโยชน์ในการกำหนดนโยบายในระดับต่างๆ ขององค์กรที่เกี่ยวข้องและ การสนับสนุนทุนวิจัยต่อไป อุปกรณ์และวิธีการ ดำเนินการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยไม้ผล 5 ชนิด คือ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกองและแก้วมังกร จาก แหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น ห้องสมุดของสถานศึกษา วิทยาลัย มหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงฐานข้อมูลและทรัพยากรในรูปอิเล็กทรอ นิกส์ต่างๆ ในระบบอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมงานวิจัยตั้งแต่ ปี พ.ศ.2508-ปัจจุบัน นำข้อมูลที่รวบรวมได้มาจัดเตรียมให้อยู่ใน รูปแบบแฟ้มข้อมูลชนิด Acrobat (pdf) จัดแยกเก็บเป็นหมวดหมู่ตามสาขาวิชา ในลำดับถัดมาออกแบบฐานข้อมูลและระบบ จัดเก็บข้อมูลให้สามารถดำเนินการได้อย่างอิสระ สามารถค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญและอื่นๆ สามารถเข้าถึงรายละเอียดของ ข้อมูลที่สนใจ รวมทั้งบทคัดย่อและเชื่อมโยงไปยังเรื่องเต็มที่แหล่งข้อมูลดั้งเดิม ตลอดจนการแสดงผลออกทางเครื่องพิมพ์ หลังจากออกแบบฐานข้อมูลแล้ว ได้ทดสอบระบบการจัดเก็บข้อมูลและใช้งานบนเว็บไซต์ www.schuai.net/webBaseFruit Research ภายหลังจัดทำฐานข้อมูลไม้ผลแล้ว ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและนำมาวิเคราะห์สถานภาพการ วิจัยไม้ผลทั้ง 5 ชนิด และเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานวิจัยที่ควรได้รับการสนับสนุนในอนาคต ผลและวิจารณ์ ฐานข้อมูลงานวิจัยไม้ผล ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกองและแก้วมังกร นี้เป็นส่วนหนึ่งของฐานข้อมูลงานวิจัยไม้ผล ของประเทศไทย โดยสามารถรวบรวมข้อมูลได้ทั้งสิ้น 1,036 เรื่อง จัดจำแนกตามชนิดไม้ผล (Table 1) และอาจจัดจำแนกตาม สาขาวิชา (Table 2) Table 1 Fruits database profile Fruits Durian Mangosteen Rambutan Longkong Dragonfruit Records % 402 38.80 294 28.38 149 14.38 162 15.64 29 2.80 ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 (พิเศษ) กันยายน – ธันวาคม 2551 ว. วิทยาศาสตร์การเกษตร 164 Table 2 Fruits database categorized by subjects ซึ่งรวบรวมมาจากเอกสารประเภทต่าง ๆ ดังนี้ ผู้ที่สนใจสามารถสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ทที่เว็บไซต์ www.schuai.net/WebBaseFruitResearch ซึ่งมี วิธีการใช้งานที่ง่ายและสะดวก จากส่วนของการสืบค้นข้อมูลโดยกำหนดรายละเอียดที่ต้องการจาก คำสำคัญ ชื่อผู้แต่ง/ นักวิจัย เจ้าของผลงาน ประเภทของงานวิจัย ชื่อ/ชนิดไม้ผล ปี พ.ศ. ที่ตีพิมพ์ หน่วยงาน/สำนักพิมพ์หรือผู้จัดประชุม ผลการ สืบค้นข้อมูลจะแสดงผลเป็นภาษาไทยและอังกฤษ แต่ภาษาอังกฤษอาจมีรายละเอียดที่ไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้เนื่องจากเอกสาร ต้นฉบับ สามารถเลือกดูรายละเอียดข้อมูล แหล่งที่มาของข้อมูล และสามารถดาวน์โหลด บทคัดย่อและเชื่อมโยงไปยังเรื่องเต็ม ได้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของเจ้าของเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงไป ผู้สนใจสามารถสั่งพิมพ์ได้ทั้งรายการเอกสารที่ค้นพบ รายละเอียดของ เอกสารที่สนใจและบทคัดย่อ นอกจากนี้ยังได้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ให้ข้อมูลย้อนกลับ คำแนะนำแก่คณะผู้วิจัย รวมถึงผู้สนใจ สามารถมีส่วนร่วมในการจัดเก็บข้อมูล โดยการลงทะเบียนผ่านระบบ ซึ่งจะทำให้ฐานข้อมูลมีการใช้งานและให้เกิดประโยชน์ ตลอดเวลา เป็นฐานข้อมูลที่มีชีวิต หรือพัฒนาไปเป็นฐานข้อมูลงานวิจัยพืชสวน ส่วนปัญหาพบเล็กน้อย อาทิ เช่น การนำเสนอ งานวิจัยมากกว่า 1 ประเภท งานวิจัยขาดความสมบูรณ์ เช่น ไม่มีส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษ ขาดปี พ. ศ. ที่ตีพิมพ์ และจำนวน Subjects Records ( % ) Cultivars 63 ( 6.08) Cultural Practice 131 (12.65) Biology 27 ( 2.60) Chemistry/Biochemistry 61 ( 5.89) Plant Physiology 219 (21.14) Postharvest physiology 197 (19.02) Processing/Agro-industry 87 ( 8.40) Molecular Biology 17 ( 1.64) Engineering 44 ( 4.25) Plant pathology 66 ( 6.37) Entomology 50 ( 4.83) Agricultural Extension 16 ( 1.54) Economics 43 ( 4.15) Others 15 ( 1.45) Total 1036 (100) Table 3 Type of fruit research documents Journal Research report Thesis/Dissertations Proceeding Book/article Durian 70 (20.53%) 85 (60.71%) 158 (32.58%) 83 (41.09%) 6 ( 100%) Mangosteen 75 (22.00%) 22 ( 5.71%) 146 (30.10%) 51 (25.25%) 0 ( 0.00%) Rambutan 22 ( 6.45%) 12 ( 8.57%) 75 (15.46%) 40 (19.80%) 0 (0.00%) Longkong 28 ( 8.21%) 20 (14.29%) 90 (15.56%) 24 (11.88%) 0 (0.00%) Dragonfruit 8 ( 2.34%) 1 ( 0.71%) 16 ( 3.30%) 4 ( 1.98%) 0 (0.00%) Total 358 (100%) 140 (100%) 485 (100%) 202 (100%) 6 (100%) 1,036(100%) ว. วิทยาศาสตร์การเกษตร ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 (พิเศษ) กันยายน – ธันวาคม 2551 165 หน้า แหล่งที่มาของเอกสารไม่ชัดเจน ชื่อหน่วยงานมีการเปลี่ยนแปลงและการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังฉบับจริง ซึ่งขึ้นอยู่กับการ ยินยอมให้ผู้ใช้เชื่อมโยงเข้าไปใช้งานหรือไม่ การเปลี่ยนแปลงเซอร์ฟเวอร์ หรือ URL เป็นต้น ในการวิเคราะห์สถานภาพการวิจัยไม้ผลทั้ง 5 ชนิด สัดส่วนงานวิจัยที่เผยแพร่พบว่า ทุเรียนและมังคุดมีรายงานวิจัยที่ รวบรวมได้สอดคล้องกับลำดับความสำคัญของไม้ผล ส่วนเงาะได้รวบรวมรายงานวิจัยมาได้น้อยกว่าลำดับความสำคัญของ ไม้ผล ในขณะที่ลองกองและแก้วมังกรได้รวบรวมรายงานการวิจัยได้มากกว่าลำดับความสำคัญของไม้ผล ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ลองกองได้รับความนิยมและขยายพื้นที่ปลูกอย่างรวดเร็ว มีการดำเนินการวิจัยเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกับแก้วมังกร ซึ่งเป็นพืช เศรษฐกิจชนิดใหม่ ซึ่งไม่ได้อยู่ในการจัดลำดับความสำคัญของไม้ผลมาก่อน การวิเคราะห์แนวโน้มการวิจัยของไม้ผล 5 ชนิดนี้ จากความต้องการของตลาดที่มีเป็นจำนวนมากและความสามารถในการแข่งขันของทุเรียนกับผลไม้ชนิดอื่น ทั้งภายในประเทศ และภายนอกประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมวิทยาการต่างๆ เพื่อสนับสนุนและพัฒนาผลผลิตให้ดีขึ้นและเหมาะแก่ ผลิตผลแต่ละประเภท เช่นเดียวกับมังคุดที่มีปริมาณการส่งออกและแข่งขันในด้านคุณภาพ ควรมีการสนับสนุนงานวิจัยด้าน สรีรวิทยาและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อเพิ่มคุณภาพผล ยืดอายุผลผลิตในการส่งออกให้สอดคล้องกับความต้องการของ ตลาด ส่วนเงาะได้ความนิยมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับทุเรียนและมังคุด ประกอบกับประเทศมาเลเซียมีการส่งเสริมการพัฒนาพันธุ์ เงาะและการผลิตอย่างจริงจัง เป็นคู่แข่งที่สำคัญในการส่งออกเงาะของไทย ซึ่งเดิมงานวิจัยของเงาะมีปริมาณน้อยกว่าความ ต้องการและพื้นที่ผลิตเงาะของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงสะท้อนให้เห็นปัญหาการผลิต ซึ่งควรได้รับการแก้ปัญหาแบบครบ วงจร สำหรับลองกองควรสนับสนุนงานวิจัยด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูป เนื่องจากมีการวิจัยไม่มากพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแปรรูป อาจเนื่องมาจากความจำกัดทางสรีรวิทยาของผลลองกอง และไม่สนใจการแปรรูปเนื่องจากใน ช่วงแรกราคาผลผลิตลองกองมีราคาสูงและการตลาดดีมาก ปัจจุบันราคาลองกองลดต่ำลงมาก ควรที่ส่งเสริมการวิจัยการแปร รูปมากขึ้น งานวิจัยทางด้านการปฏิบัติงานสวนและสรีรวิทยาเพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิต คุณภาพผลผลิตให้เพิ่มสูงขึ้น ยังคงมีความจำเป็นอยู่เช่นกัน งานวิจัยเพื่อควบคุมการระบาดของแมลง (โดยเฉพาะปัญหานอนกินใต้เปลือกลองกองและโรค ต่างๆ โดยเฉพาะอาการกิ่งแห้ง) และงานวิจัยการตลาด เนื่องจากลองกองเป็นผลไม้ที่มีอายุการเก็บรักษาสั้น ทำให้สูญเสีย ศักยภาพในการแข่งขันกับผลไม้ชนิดอื่นๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวิจัยทางการตลาดให้มีช่องทางการจำหน่าย สามารถ เคลื่อนย้ายผลผลิตลองกองถึงมือผู้บริโภคปลายทางในเวลาสั้น ซึ่งในอดีตมีการวิจัยค่อนข้างน้อย ส่วนแก้วมังกรในอนาคต งานวิจัยควรมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาและชะลอปัญหาของราคาผลผลิตตกต่ำเช่นเดียวกับผลไม้อื่นที่ผ่านมาในอดีต ควรที่ ส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยด้านพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ที่เหมาะสม งานวิจัยการแปรรูป การวิจัยทางด้านสรีรวิทยาการผลิตและการ ปฏิบัติงานสวน เนื่องจากประเทศไทยยังมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ คือ เวียดนาม งานวิจัยการตลาด ควรที่จะมีการศึกษาการกำหนดเขตเศรษฐกิจสำหรับการผลิตแก้วมังกรให้ชัดเจน ควบคุมการขยายพื้นที่การผลิตที่ไม่สมดุล อย่างไรก็ตามควรที่จะ มีการทวนสอบกับแผนพัฒนาการผลิตไม้ผลและแผนงานวิจัยไม้ผลของคณะอนุกรรมการวิจัยไม้ผล แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติต่อไป สรุป ฐานข้อมูลงานวิจัยไม้ผล: ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกองและแก้วมังกร ได้รวบรวมและจัดทำเป็นฐานข้อมูลออนไลน์ บนเวปไซต์ที่ www.schuai.net/WebBaseFruitResearch รวบรวมได้ทั้งสิ้น 1,036 เรื่อง เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ปี 2508- ปัจจุบัน จัดจำแนกออกตามชนิดไม้ผลและสาขาวิชาการ นักวิจัยผู้สนใจสามารถสืบค้นจาก คำสำคัญ ประเภทผลงาน ผู้แต่ง/ เจ้าของผลงาน หน่วยงานและปีตีพิมพ์ ผลจากการสืบค้นจะได้รับรายการที่สืบค้น รายละเอียดของงานวิจัยและบทคัดย่อ รวมถึงการเชื่อมโยงไปยังแหล่งต้นฉบับ ฐานข้อมูลงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้อ้างอิงและใช้วางแผนการสนับสนุนงานวิจัยต่อไป ในอนาคต คำขอบคุณ คณะผู้วิจัยขอขอบพระคุณศาสตราจารย์ ดร.จริงแท้ ศิริพานิชที่ได้ให้คำแนะนำในการวิจัย สำนักวานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย ตลอดจน คุณยศพล ผลาผลและผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือการดำเนินงานวิจัยทุกๆ ท่าน เอกสารอ้างอิง กวิศร์ วานิชกุล.2537. บทคัดย่องานวิจัยไม้ผล. งานวิจัยไม้ผลในประเทศไทย พ.ศ. 2526-2532 และการวิเคราะห์แนวทางการวิจัยไม้ผลสำหรับ ประเทศไทยเล่ม 1 และ 2. นครปฐม. 701 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น